ทำไมทางด่วนฟรีวันสงกรานต์ยกเว้นแค่ 3 เส้นทาง เพราะมีสัมปทานร่วม

Mr.Argus
Mr.Argus · 2025-04-16 05:19

ทางด่วนฟรีวันสงกรานต์นั้นมีข้อยกเว้น 3 เส้นทางที่ไม่ได้เปิดใช้ฟรี มีการเก็บค่าผ่านทางตามปกติ ได้แก่ ดอนเมืองโทลเวย์, ฉลองรัช และประจิมรัถยา เพราะว่ามีสัมปทานร่วมกับเอกชน และรัฐบาลอุดหนุนเฉพาะเส้นทางที่กระทบวงกว้างเท่านั้น

ทางด่วนฟรีวันสงกรานต์

สัญญาสัมปทานที่แตกต่าง

ทางด่วนทั้ง 3 แห่งบริหารโดย บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนกับรัฐ (PPP) เป็นสัมปทานที่มีเงื่อนไขเฉพาะ ซึ่งไม่ได้ระบุให้ยกเว้นค่าผ่านทางในช่วงเทศกาล เช่น สงกรานต์ ​ดังนั้นการยกเว้นค่าผ่านทางจำเป็นต้องมีการเจรจาและตกลงระหว่างรัฐกับผู้รับสัมปทาน ซึ่งอาจเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน ภายใต้สัญญาสัมปทานนี้ BEM มีหน้าที่ในการบริหารจัดการ ให้บริการ บำรุงรักษา และเรียกเก็บค่าผ่านทางของทางพิเศษประจิมรัถยา โดยมีสิทธิได้รับรายได้ค่าผ่านทางและรายได้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในสัญญา

กระบวนการนี้ต่างจากทางด่วนฟรีวันสงกรานต์ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นผู้บริหารโดยตรง เช่น ทางพิเศษเฉลิมมหานคร, ศรีรัช (ขั้นที่ 2), ฉลองรัช ฯลฯ


เลือกความสำคัญ

หากรัฐต้องการยกเว้นค่าผ่านทางในช่วงเทศกาล ต้องมีการเจรจาและ ชดเชยรายได้ให้เอกชนตามสัญญา ซึ่งรัฐก็ต้องเลือกชดเชยให้กับทางด่วนในเส้นทางที่มีผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง เลือกทางด่วนมีผู้ใช้เส้นทาง​ออกเมืองเยอะกว่าเป็นสำคัญ ดังนั้นทางด่วนทั้ง 3 สายดังกล่าว ไม่ได้เป้นเส้นทางหลักที่พาออกสู่นอกเมืองหลวง ดังนั้นจึงเป็นอีกเหตุผลสนับสนุนให้รัฐไม่เลือกชดเชย

สัมปทานของดอนเมืองโทลล์เวย์สิ้นสุดในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2577

กำหนดสิ้นสุดสัมปทาน

สัญญาสัมปทานของ BEM สำหรับทางด่วนประจิมรัถยามีกำหนดสิ้นสุดในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2585 ส่วน​สัญญาสัมปทานของทางด่วนฉลองรัช มีกำหนดสิ้นสุดในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2578.​ และ​สัญญาสัมปทานของ ดอนเมืองโทลล์เวย์ (Don Muang Tollway) มีกำหนดสิ้นสุดในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2577 โดยยังไม่มีการยืนยันว่าจะต่อสัมปทานหรือไม่

Mr.Argus

Mr.Argus

Toyota
Honda
Nissan
Mitsubishi
Mazda
Suzuki
Isuzu
Ford
Mercedes-Benz
BMW
Aston Martin
Audi