window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_breadcrumb_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678150997-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678150997-0'); });

รถไฮบริด – รถปลั๊กอินไฮบริด – รถพลังไฟฟ้า รถประเภทไหนเหมาะกับเมืองไทยที่สุด?

May · Sep 15, 2020 06:01 AM

รถไฮบริด – รถปลั๊กอินไฮบริด – รถพลังไฟฟ้า รถประเภทไหนเหมาะกับเมืองไทยที่สุด? 01

ระบบขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าถูกนำมาใช้กับรถยนต์ยุคใหม่เพื่อลดมลพิษ อัพเกรดสมรรถนะ และเพิ่มความประหยัดน้ำมัน แต่แนวทางการประยุกต์ใช้นั้นมีหลากหลายรูปแบบที่มีข้อดี-ข้อด้อยแตกต่างกัน

รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าช่วยขับเคลื่อนที่วางจำหน่ายในบ้านเรานั้นมีตั้งแต่รถไฮบริดที่ใช้พลังงานไฟฟ้าขับเคลื่อนไปพร้อมกับเครื่องยนต์ รถปลั๊กอินไฮบริดที่เสียบปลั๊กชาร์จไฟได้ รถยนต์ไฟฟ้าที่มีเครื่องยนต์ช่วยปั่นไฟ ตลอดจนรถยนต์ไฟฟ้าล้วน ๆ ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่อย่างเดียว เราไปชมกันเลยว่า รถแบบใดจะใช่สำหรับคุณและเหมาะกับเมืองไทยมากที่สุด

รถไฮบริด – รถปลั๊กอินไฮบริด – รถพลังไฟฟ้า รถประเภทไหนเหมาะกับเมืองไทยที่สุด? 02

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });

รถยนต์ไฮบริด (HEV)

รถยนต์ไฮบริดออกทำตลาดมานานที่สุดในอุตสาหกรรมยานยนต์ เทคโนโลยีไฮบริดได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้นและมีมลพิษลดลง ตลาดรถยนต์บ้านเรามีรถไฮบริดหลายรุ่นให้เลือกสรร อาทิ Honda Accord (ฮอนด้า แอคคอร์ด) Toyota C-HR  (โตโยต้า ซี-เอชอาร์) และ Toyota Camry (โตโยต้า คัมรี) เป็นต้น

เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าจะทำงานพร้อมกันเพื่อขับเคลื่อนตัวรถ รถยนต์ไฮบริดจึงเหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องการใช้รถที่มีความประหยัดน้ำมัน

รถยนต์ไฮบริด
จุดเด่น จุดด้อย
- ประหยัดน้ำมันมากกว่าและมีมลพิษต่ำกว่า เมื่อเทียบกับรถเครื่องยนต์สันดาปทั่วไป - ความประหยัดและการปล่อยมลพิษยังสู้รถปลั๊กอินไฮบริดไม่ได้
- ไม่ต้องกังวลว่าพลังงานไฟฟ้าจะหมดลงกลางทาง - แบตเตอรี่อาจทำให้พื้นที่จัดเก็บสัมภาระแคบลง
  - ราคาจำหน่ายอาจสูงกว่ารถเครื่องยนต์สันดาปทั่วไป

 

รถไฮบริด – รถปลั๊กอินไฮบริด – รถพลังไฟฟ้า รถประเภทไหนเหมาะกับเมืองไทยที่สุด? 01

รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV)

เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดสามารถขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าล้วน ๆ ได้ในระยะทางสั้น ๆ เหมาะสำหรับการขับขี่ในเมืองแบบปราศจากมลพิษ ขณะเดียวกัน ไม่ต้องมีความกังวลว่าไฟฟ้าจะหมดลงกลางทาง รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดที่จำหน่ายในเมืองไทย อาทิ BMW X5 xDrive45e Plug-in Hybrid (บีเอ็มดับเบิลยู เอ็กซ์5) และ 2019 Mercedes-Benz C300e Plug-in Hybrid (เมอร์เซเดส-เบนซ์ ซี-คลาส)

ขณะเดียวกัน รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดที่มีราคาพอเอื้อมถึงได้และกำลังจะเปิดตัวออกจำหน่ายในบ้านเราคือ Mitsubishi Outlander PHEV (มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี) ที่คาดว่าจะมีราคาจำหน่ายประมาณ 1.3 – 1.4 ล้านบาท รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดเหมาะสำหรับคนที่ต้องการรถที่ประหยัดน้ำมันมากขึ้น ขับขี่ในเมืองและเดินทางไกลได้อย่างสบายใจ

รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด
จุดเด่น จุดด้อย
- ประหยัดน้ำมันมากกว่าและมีมลพิษต่ำกว่า เมื่อเทียบกับรถยนต์ไฮบริดและรถเครื่องยนต์สันดาปทั่วไป - ยังมีการปล่อยมลพิษ
- ไม่ต้องกังวลว่าพลังงานไฟฟ้าจะหมดลงกลางทาง - แบตเตอรี่อาจทำให้พื้นที่จัดเก็บสัมภาระแคบลง
  - การชาร์จไฟฟ้าใช้เวลานาน
  - ราคาจำหน่ายอาจสูงกว่ารถยนต์ไฮบริดหรือรถเครื่องยนต์สันดาปทั่วไป

 

รถไฮบริด – รถปลั๊กอินไฮบริด – รถพลังไฟฟ้า รถประเภทไหนเหมาะกับเมืองไทยที่สุด? 02

รถยนต์ไฟฟ้ามีเครื่องยนต์ช่วยขยายระยะทางขับเคลื่อน (Range-Extender BEV)

กลายเป็นอีกหนึ่งรถพลังงานทางเลือกที่กำลังมาแรง รถยนต์ไฟฟ้าแบบมีเครื่องยนต์ช่วยปั่นไฟที่เพิ่งเปิดตัวในบ้านเราเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาคือ Nissan Kicks e-Power (นิสสัน คิกส์ อี-พาวเวอร์) และมีแนวโน้มว่าจะตามมาด้วย All-New Nissan Note e-Power (นิสสัน โน๊ต อี-พาวเวอร์) ภายในปีหน้า

รถยนต์ประเภทนี้ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเหมือนกับรถยนต์ไฟฟ้า แต่ไม่ต้องเสียบปลั๊กชาร์จไฟ หากมีเครื่องยนต์ขนาดเล็กช่วยปั่นกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าสู่แบตเตอรี่แทน ผู้บริหารของ Nissan เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่าระบบ e-Power เหมาะกับเมืองไทยที่ยังขาดแคลนสาธารณูปโภคด้านสถานีชาร์จไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้าแบบมีเครื่องยนต์ขยายระยะทางขับเคลื่อนเหมาะสำหรับผู้ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและใช้งานรถเป็นประจำทั้งทางใกล้-ทางไกล

รถยนต์ไฟฟ้าแบบมีเครื่องยนต์ปั่นไฟ
จุดเด่น จุดด้อย
- ประหยัดน้ำมันมากกว่าและมีมลพิษต่ำกว่า เมื่อเทียบกับรถยนต์ไฮบริด และใกล้เคียงกับรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด - ยังมีการปล่อยมลพิษ
- มีความเงียบสงบในการขับขี่ - ถ้าแบตเตอรี่มีขนาดเล็ก เครื่องยนต์จะทำงานบ่อย
- แรงบิดตอบสนองได้ดีสไตล์รถพลังงานไฟฟ้า - แบตเตอรี่อาจทำให้พื้นที่จัดเก็บสัมภาระแคบลง

รถไฮบริด – รถปลั๊กอินไฮบริด – รถพลังไฟฟ้า รถประเภทไหนเหมาะกับเมืองไทยที่สุด? 03

รถยนต์ไฟฟ้า (BEV)

รถยนต์ไฟฟ้าใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ล้วน ๆ (Battery Electric Vehicle หรือ BEV) ถ่ายทอดพลังงานสู่มอเตอร์ที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนตัวรถ รถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังมาแรงในตลาดรถยนต์เมืองไทยคือ MG ZS EV (เอ็มจี แซดเอส อีวี) ที่เป็นเจ้าตลาด นอกจากนี้ยังมี Nissan Leaf (นิสสัน ลีฟ)  Hyundai Kona (ฮุนได โคน่า) และ IONIQ (ฮุนได ไอโอนิค)

คาดว่าจะมีรถยนต์ไฟฟ้าเปิดตัวตามมาอีกหลายรุ่นในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฟฟ้าเหมาะสำหรับการเป็นรถคันที่ 2 หรือคันที่ 3 ในครอบครัวเมื่อพิจารณาจากสถานีชาร์จไฟฟ้าในบ้านเราที่มีจำนวนจำกัดและยังไม่ครอบคลุม รวมถึงการชาร์จไฟที่ใช้เวลานาน

รถยนต์ไฟฟ้า 100%
จุดเด่น จุดด้อย
- มีมลพิษเป็นศูนย์ - การชาร์จไฟฟ้าใช้เวลานาน
- มีความเงียบสงบในการขับขี่ - การเดินทางออกต่างจังหวัดต้องวางแผนการชาร์จไฟอย่างรอบคอบ
- แรงบิดตอบสนองได้ดี - ราคาจำหน่ายสูงกว่ารถยนต์ประเภทอื่น ๆ

สรุป

ปฏิเสธไม่ได้ว่าถนนทุกสายในอุตสาหกรรมยานยนต์โลกล้วนมุ่งหน้าสู่การนำเสนอรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ทั้งสิ้น แต่การจะไปถึงเป้าหมายดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อคำนึงถึงบริบทแวดล้อมของแต่ละประเทศที่ส่วนใหญ่ยังไม่เอื้อต่อการใช้งานจริง

หลายชาติในทวีปยุโรป อาทินอร์เวย์และเยอรมนี มีการส่งเสริมการใช้รถพลังงานไฟฟ้าอย่างจริงจัง ทั้งการขยายสถานีชาร์จไฟสาธารณะที่ครอบคลุม การออกนโยบายอุดหนุนผู้ซื้อรถพลังงานไฟฟ้า และการสนับสนุนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง จึงไม่น่าแปลกใจที่ตลาดรถอีวีจะเติบโตอย่างรวดเร็วและมั่นคง

แต่สำหรับในประเทศไทย โครงสร้างพื้นฐานด้านสถานีชาร์จไฟฟ้าที่จำกัดไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานจริง อีกทั้งราคาจำหน่ายของรถพลังไฟฟ้าที่ค่อนข้างสูงทำให้เป้าหมายการสร้างตลาดรถยนต์ไฟฟ้ายังอยู่อีกไกลซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เหมือนกับในอีกหลายประเทศทั่วโลก

รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าที่มีเครื่องยนต์ช่วยปั่นไฟจึงเป็นโซลูชั่นส์ที่เหมาะสมที่สุดในเวลานี้และเป็นเหมือนบันไดที่เชื่อมต่อระหว่างรถเครื่องยนต์สันดาปทั่วไปสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้า 100% อันเป็นเป้าหมายสูงสุด

แต่การจะเลือกจับจองเป็นเจ้าของรถยนต์ประเภทใดนั้น อาจต้องคำนึงถึงกำลังทรัพย์และขนาดของตัวรถเป็นสำคัญ

 

 

May

นักเขียนอาวุโส

อดีตนักข่าว เอเจนซี่ และฟรีแลนซ์ฝีมือเยี่ยม ที่นำประสบการณ์ร่วม 20 ปีมาถ่ายทอดคอนเทนท์และประเด็นข่าวในวงการยานยนต์ทั้งไทยและเทศในรูปแบบที่สดใหม่และแตกต่าง

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });
window._taboola = window._taboola || []; _taboola.push({ mode: 'thumbnails-a-2x2-stream', container: 'taboola-below-article-thumbnails', placement: 'Below Article Thumbnails', target_type: 'mix' });

พร้อมจัดการซื้อ-ขายรถได้ภายใน 24 ชั่วโมง

BMW X5 xDrive30d M Sport 2022

แลก

เพิ่มรถของคุณ

ไม่อยากรอแลกรถ?   ขายรถ