window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_breadcrumb_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678150997-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678150997-0'); });

อธิบายระบบขับขี่อัตโนมัติ 5 ระดับ มีอะไรบ้าง แล้วทำไมการพัฒนาถึงยากเย็นนัก?

May · May 7, 2021 02:22 PM

อธิบายระบบขับขี่อัตโนมัติ 5 ระดับ มีอะไรบ้าง แล้วทำไมการพัฒนาถึงยากเย็นนัก? 01

วิศวกร Honda สาธิตการใช้งานระบบขับขี่อัตโนมัติใน Honda Legend

ระบบขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous Drive) คือเทคโนโลยียุคใหม่ที่ตีคู่มากับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ว่ากันว่าทั้งสองนวัตกรรมจะประกอบร่างเป็นยานพาหนะแห่งอนาคต

เมื่อไม่นานมานี้ Honda เพิ่งเปิดตัว 2021 Honda Legend (2021 ฮอนด้า เลเจนด์) ใหม่ที่มาพร้อมระบบขับขี่อัตโนมัติระดับ 3 เป็นครั้งแรกในโลก ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีบริษัทรถยนต์รายใดทำได้มาก่อนแม้แต่ Tesla (เทสล่า) ที่นำเสนอระบบขับขี่ Autopilot ก็ยังเป็นรองเทคโนโลยีจากญี่ปุ่น

สมาคมวิศวกรยานยนต์แห่งสหรัฐอเมริกาหรือ Society of Automotive Engineers (SAE) เป็นผู้คิดค้นระดับของระบบขับขี่อัตโนมัติขึ้นมาเพื่อให้เป็นมาตรฐานสากลและเป็นแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีของบริษัทรถยนต์ทุกรายทั่วโลก

อธิบายระบบขับขี่อัตโนมัติ 5 ระดับ มีอะไรบ้าง แล้วทำไมการพัฒนาถึงยากเย็นนัก? 02

ระดับของรถขับขี่อัตโนมัติ กำหนดโดยสมาคมวิศวกรยานยนต์แห่งสหรัฐอเมริกา

แล้ว “ระดับ” หรือ “Level” ในระบบขับขี่อัตโนมัติมีอะไรบ้าง เราไปชมคำอธิบายกัน

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });

ระบบขับขี่อัตโนมัติระดับที่ 1 หรือ Level 1

หากไม่นับระบบขับขี่อัตโนมัติระดับ 0 หรือรถยนต์ที่ไม่มีระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่เลย การกำหนดระดับของเทคโนโลยีจะเริ่มต้นที่ระบบขับขี่อัตโนมัติระดับที่ 1 ผู้ขับขี่จะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการควบคุมรถ โดยมีระบบช่วยเหลือเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจเป็นระบบครูสคอนโทรลแบบแปรผันที่จะช่วยรักษาระยะห่างระหว่างรถคันหน้าอย่างปลอดภัยหรือระบบควบคุมรถให้อยู่ในเลนช่วยป้องกันรถเฉออกนอกเลนไปชนปะทะกับรถคันอื่น

อธิบายระบบขับขี่อัตโนมัติ 5 ระดับ มีอะไรบ้าง แล้วทำไมการพัฒนาถึงยากเย็นนัก? 01

ระบบขับขี่อัตโนมัติระดับที่ 2 หรือ Level 2

หากรถยนต์คันใดมีระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ (ADAS) หลายระบบทำงานประสานกัน ไม่ว่าจะเป็นครูสคอนโทรลแบบแปรผัน ระบบแจ้งเตือนรถออกนอกเลนและระบบควบคุมรถให้อยู่ในเลน จะถือว่ารถยนต์คันนั้นมีระบบขับขี่อัตโนมัติระดับที่ 2 ทำให้ตัวรถสามารถเร่ง เบรก และเลี้ยวได้เองในบางสถานการณ์ขับขี่ แต่ผู้ขับขี่ยังต้องประคองพวงมาลัยพร้อมกับมองถนนข้างหน้าเพื่อเฝ้าระวังตลอดเวลา

ปัจจุบัน รถยนต์ส่วนใหญ่ที่ถูกใช้งานอยู่ในปัจจุบันมีระบบขับขี่อัตโนมัติอยู่ในระดับที่ 2 แม้แต่ระบบ Autopilot อันโด่งดังของ Tesla (เทสล่า) ประโยชน์สำคัญคือการช่วยผ่อนคลายความเครียดและเมื่อยล้าในขณะขับขี่ โดยเฉพาะเมื่อการจราจรไหลแบบเอื่อย ๆ หรือการขับทางไกล

อธิบายระบบขับขี่อัตโนมัติ 5 ระดับ มีอะไรบ้าง แล้วทำไมการพัฒนาถึงยากเย็นนัก? 02

ระบบขับขี่อัตโนมัติระดับที่ 3 หรือ Level 3

ระบบขับขี่อัตโนมัติระดับที่ 3 คือการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ผู้เชี่ยวชาญบางรายให้คำนิยามว่าเป็น “ระบบขับขี่อัตโนมัติในบางสถานการณ์” ระบบนี้จะใช้เทคโนโลยีแผนที่ เรดาร์ และเซ็นเซอร์ตรวจจับสถานการณ์เบื้องหน้า ก่อนที่จะควบคุมตัวรถให้เคลื่อนที่ เร่งแซง และเลี้ยวไปตามทางได้เอง

ตามที่เกริ่นไว้ข้างต้นว่าระบบนี้ถูกติดตั้งเป็นครั้งแรกในโลกในรถซีดานพรีเมียมอย่าง Legend ใหม่ ซึ่งทาง Honda ระบุว่าผู้ขับขี่ไม่จำเป็นต้องจับพวงมาลัยและมองถนนข้างหน้า จึงสามารถอ่านหนังสือหรือทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างทางได้ แต่ต้องสามารถเข้ามาควบคุมตัวรถได้ตลอดเวลาหากมีความจำเป็น  

ค่ายรถยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นระบุด้วยว่าระบบนี้สามารถใช้ได้บนถนนไฮเวย์หรือทางด่วนเท่านั้นเนื่องจากไม่มีรถจักรยานยนต์หรือคนเดินถนนที่อาจตัดหน้าทำให้เกิดอันตราย ขณะเดียวกัน ระบบนี้จะสั่งการให้ตัวรถเคลื่อนเข้าจอดข้างทางทันทีหากผู้ขับขี่ไม่สามารถควบคุมรถแทนระบบอัตโนมัติในกรณีที่เกิดเหตุไม่ปกติ

ระบบขับขี่อัตโนมัติระดับที่ 4 หรือ Level 4

ถือเป็นระบบขับขี่อัตโนมัติระดับสูงมาก มีการสื่อสารระหว่างรถยนต์กับรถยนต์ (car-to-car communications) และระหว่างรถยนต์กับโครงสร้างพื้นฐาน (car-to-infrastucture communications) ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและความแม่นยำในการตรวจจับสถานการณ์บนถนน จึงสามารถใช้งานบนถนนทั่วไปได้และไม่จำกัดเฉพาะบนไฮเวย์เท่านั้นแต่จะต้องเป็นเส้นทางที่กำหนดไว้ล้วงหน้า ระบบขับขี่อัตโนมัติระดับที่ 4 จึงถูกมองว่าจะเป็นเทคโนโลยีสำคัญสำหรับบริการไรด์แชริ่งหรือรถแท็กซี่ไร้คนขับในอนาคต

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ระบบขับขี่อัตโนมัติระดับที่ 4 จะช่วยให้ตัวรถเคลื่อนที่ไปโดยไม่ต้องมีคนขับ แต่ยังต้องมีพวงมาลัยและแป้นเบรก-คันเร่งเพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าควบคุมได้หากต้องการขับเองหรือกรณีที่เกิดเหตุร้ายแรงจริง ๆ อย่างภัยธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม หากคนไม่สามารถคุมตัวรถแทนระบบได้ ตัวรถก็จะถูกสั่งการให้จอดข้างทางโดยอัตโนมัติเช่นกัน

อธิบายระบบขับขี่อัตโนมัติ 5 ระดับ มีอะไรบ้าง แล้วทำไมการพัฒนาถึงยากเย็นนัก? 03

ระบบขับขี่อัตโนมัติระดับที่ 5 หรือ Level 5

คือรถไร้คนขับที่ใช้ระบบขับขี่อัตโนมัติเต็มรูปแบบ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพามนุษย์อีกต่อไป ผู้ขับขี่กลายเป็นผู้โดยสารอย่างเต็มตัว ห้องโดยสารปราศจากพวงมาลัยและแป้นเหยียบ เราสามารถนอนหลับหรือนั่งเอนหลังพักผ่อนนับตั้งแต่เริ่มต้นออกเดินทางไปจนถึงจุดหมายได้อย่างสบายอารมณ์

สิ่งเดียวที่มนุษย์ต้องทำเมื่อเข้ามานั่งโดยสารในรถที่มีระบบขับขี่อัตโนมัติระดับที่ 5 ก็คือการจิ้มหน้าจอกำหนดสถานที่ปลายทางที่ต้องการจะไป แล้วปล่อยให้ตัวรถขับเคลื่อนอย่างปลอดภัย

การพัฒนาสู่ขั้นสูงสุดยากเย็นแสนเข็ญ

ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การใช้งานรถไร้คนขับที่มีระบบขับขี่อัตโนมัติระดับที่ 5 นั้นเป็นเรื่องยากราวกับสกัดภูเขาทั้งลูกด้วยเสียมด้ามเดียว เพราะไม่เพียงขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียานยนต์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการกำหนดกฎหมายรองรับ และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมที่ล้ำสมัยด้วย นั่นหมายความว่าประเทศเศรษฐกิจใหม่อย่างเมืองไทยแทบมองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

หลายบริษัทรถยนต์พยายามตั้งเป้าหมายกรอบเวลาการใช้งานระบบขับขี่อัตโนมัติเต็มรูปแบบ ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าระบบนี้จะถูกใช้งานร่วมกันรถยนต์ไฟฟ้า ช่วยสร้างสรรค์สังคมที่ปราศจากมลพิษและมีอุบัติเหตุเป็นศูนย์ แต่กว่าจะถึงวันนั้นต้องใช้เวลาอีกเท่าไหร่ ไม่มีใครสามารถบอกได้

May

นักเขียนอาวุโส

อดีตนักข่าว เอเจนซี่ และฟรีแลนซ์ฝีมือเยี่ยม ที่นำประสบการณ์ร่วม 20 ปีมาถ่ายทอดคอนเทนท์และประเด็นข่าวในวงการยานยนต์ทั้งไทยและเทศในรูปแบบที่สดใหม่และแตกต่าง

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });
window._taboola = window._taboola || []; _taboola.push({ mode: 'thumbnails-a-2x2-stream', container: 'taboola-below-article-thumbnails', placement: 'Below Article Thumbnails', target_type: 'mix' });

ซื้อรถถูกกว่า ขายรถเร็วขึ้น

2022 Haval H6 PHEV

แลก

เพิ่มรถของคุณ

ไม่อยากรอแลกรถ?   ขายรถ