Aston Martin (แอสตัน มาร์ติน) ไม่เคยควบคุมงบการเงินได้ดีนัก แต่มีอยู่ช่วงหนึ่งในอดีต เมื่อมหาเศรษฐีชาวแคนาดา เจ้าของส่วนหนึ่งของทีม Aston Martin F1 คือนาย Lawrence Stroll ลงทุนมหาศาลในบริษัท เขาได้นำ Tobias Moers ผู้เคยเป็นซีอีโอจาก Mercedes-AMG เข้ามาบริหาร สิ่งนี้ช่วยให้โครงการต่างๆ คล่องตัวขึ้น แต่ตอนนี้โดนนายทุนปลดออกจากตำแหน่ง CEO (แทนที่โดยอดีตผู้บริหารของ Ferrari) ทำเอาคนในวงการรถสปอร์ตช็อคไปตามกัน เพราะนาย Moers มีประวัติการทำงานดีตั้งแต่สมัย AMG แล้ว
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });
ผลงานของอดีตซีอีโอ ยังดูดี
อดีตซีอีโอ Tobias Moers มีผลงานอันเป็นตำนานตั้งแต่สมัยอยู่กับเบนซ์ ด้วยการเปิดโครงการผลิต Mercedes-Benz E55 AMG ในปี 2002 ให้เป็นรถเก๋งที่มีกำลังแรงสุดในโลกขณะนั้น เอาชนะ BMW M5 อย่างขาดลอย อันเป็นสารตั้งต้นของการเรียกชื่อเสียงความเป็นมอเตอร์สปอร์ตในค่ายตราดาวกลับมาได้จนถึงปัจจุบัน และเมื่อเขาย้ายมาอยู่กับค่ายรถสายลับอังกฤษนี้ ก็ได้ริเริ่มรุ่นย่อยตัวแรงสุดให้กับเอสยูวี DBX 707 และในอนาคตวางแผนใช้ระบบไฮบริดด้วย แต่เขาโดนปลดออกเสียก่อน ทั้งที่ทำงานได้แค่ 2 ปีเท่านั้น
รายงานทางการเงินของ Aston Martin ค่อนข้างชัดเจนว่าแบรนด์ต้องการการสนับสนุนจากพันธมิตรมากกว่าที่เคย แต่การสนับสนุนดังกล่าวมาไม่เร็วมากพอ หลังจากความเห็นล่าสุดจากนักแข่งรถ Formula 1 ว่ารถเซฟตี้รุ่น Vantage นั้นมีสมรรถนะช้าเกินไป ข่าวดังกล่าวก็กลายเป็นกระแสลบในเกือบทุกด้าน
ขาดทุนพันล้านปอนด์
ในไตรมาสแรกของปีนี้ Aston Martin ขาดทุนสุทธิ 47.7 ล้านปอนด์ ณ เวลาที่เขียน และมีหนี้สินสุทธิมากกว่า 956.8 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากหนี้สุทธิ 722.9 ล้านปอนด์ ที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2021 อย่างไรก็ตาม หนี้สุทธิเป็นคำที่จำกัดความถึงหนี้ที่จะคงอยู่ หากบริษัทรวมเงินสดทั้งหมดและขายสินทรัพย์ทั้งหมดตามมูลค่าปัจจุบันไปจ่ายเจ้าหนี้ นี่หมายความว่า Aston Martin อยู่ในสถานะงบการเงินสีแดง แม้ว่าจะถูกชำระหนี้บัญชีไปแล้วก็ตาม
ผู้ผลิตรถยนต์ที่ต่อสู้ดิ้นรนนี้ ได้รายงานผลการขาดทุนจากการดำเนินงานทุก 2 ปีตั้งแต่ปี 2010 ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ราคาหุ้นของบริษัทได้ทรุดตัวลง 90% นับตั้งแต่การเสนอขายหลักทรัพย์เบื้องต้น (IPO) ในปี 2018 และมูลค่าตลาดของหุ้นลดลงจากประมาณ 5.3 พันล้านดอลลาร์ เหลือเพียงประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์ นั่นคือหนี้สุทธิของบริษัทเพียง 100 ล้านดอลลาร์ ซึ่งหมายความว่าบริษัทจะเป็นหนี้มากกว่ามูลค่าหุ้นในไม่ช้า
อ่านเพิ่มเติม : รวมสุดยอด 9 รถยนต์ของ James Bond อำลาบทบาทพยัคฆ์ร้าย 007
สาเหตุที่ Aston Martin ช๊อตเงิน
มีหลายปัจจัยที่ทำให้ Aston Martin เกิดการช๊อตเงินแบบนี้ รวมถึงเหตุผลที่ DBX SUV ไม่ใช่รถรุ่นที่ทำกำไรอย่างที่คาดไว้ ด้วยโรงงานที่สามารถผลิต SUV ได้ 5,000 คันต่อปี แต่แบรนด์นี้ส่งมอบทั่วโลกได้เพียง 3,000 คันในปี 2021
ส่วนรถสปอร์ตรุ่น Valkyrie เผชิญกับความท้าทายในการพัฒนาที่ไม่รู้จบ สูบเงินค่าแก้ปัญหาถึงกับล้มละลาย ในช่วงเปิดตัว Goodwood ก็มีเหตุการณ์รถเสีย 2 ครั้งในงาน นอกจากนั้น Valhalla ก็ได้รับการออกแบบใหม่หลายชิ้นส่วน ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น และยังมีอีกหลายเหตผลที่สูบต้นทุน และทำรถมาขายไม่ออก
สุดท้ายของพอมีแสงสว่างปลายอุโมงค์ตรงที่ มีข่าวการยืนยันล่าสุดว่า Audi สนใจที่จะเป็นเจ้าของทีม F1 หากนายทุนตัดสินใจขายทีมรถแข่ง ก็อาจยังมีวิธีที่ Aston Martin จะได้โผล่หัวเหนือน้ำสักที
อ่านเพิ่มเติม : 2021 Aston Martin Vantage Roadster ขายไทยด้วยราคา 15.9 ล้านบาท
window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [
728,
90
], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });