window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_breadcrumb_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678150997-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678150997-0'); });

OPINION: Proton จะกลับมาไทย ความยากอยู่ที่ขีดความสามารถในการแข่งขัน

Pisan · Sep 4, 2020 12:00 PM

OPINION: Proton จะกลับมาไทย ความยากอยู่ที่ขีดความสามารถในการแข่งขัน 01

จากที่เราเคยรายงานความคืบหน้าของ Proton (โปรตอน) แบรนด์รถยนต์สัญชาติมาเลเซีย ที่มีเจ้าของใหม่เป็นแบรนด์รถยนต์สัญชาติจีนอย่าง Geely (จีลี่) ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ว่าพวกเขาซุ่มศึกษาแผนการทำตลาดในประเทศไทยอีกครั้งมานาน และเตรียมจะกลับมาเปิดตัวอีกครั้งในช่วงปี 2564 เป็นต้นไป

การกลับเข้ามาของพวกเขานั้น มีการรายงานแล้วว่ารถที่จะเป็นหัวหอกในการทำตลาดได้แก่เอสยูวีอย่าง Proton X70 (โปรตอน เอ็กซ์70) รถที่ใช้วิธีการเปลี่ยนโลโก้มาจากจีลี่ และคันอื่น ๆ ที่น่าจะพอดูมีน้ำหนักก็คือรถยนต์นั่งที่ขายดีอย่าง Proton Saga (โปรตอน ซาก้า) และ Proton Persona (โปรตอน เพอร์โซน่า) ที่เคยทำตลาดในไทย

แม้พวกเขาจะมีทิศทางการเติบโตที่ดีในปี 2562 ที่ผ่านมา ด้วยการทำยอดจำหน่ายในประเทศมาเลเซียไปถึง 100,821 คัน เติบโตมากกว่า 55.7% พร้อมทั้งมีส่วนแบ่งตลาดในมาเลเซียถึง 16.7% พร้อมสร้างยอดขายต่อเดือนมากถึง 11,117 คันในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ได้มีอะไรรับรองเลยว่าพวกเขาจะกลับมาได้อย่างสวยงามในประเทศไทย

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });

OPINION: Proton จะกลับมาไทย ความยากอยู่ที่ขีดความสามารถในการแข่งขัน 01

การเติบโตที่ได้เปรียบคู่แข่งรายอื่นในท้องตลาด

Hans เพื่อนของเราจาก WapCar.my เล่าให้ฟังว่าการเปิดตลาดของโปรตอนในต่างประเทศนอกเหนือจากมาเลเซียถือเป็นเรื่องที่ยากลำบากแน่นอน เพราะแม้โปรตอนและเปอโรดัวจะไม่ได้คงสถานะของการเป็นรถยนต์แห่งชาติเหมือนที่ผ่านมา แต่แบรนด์รถยนต์มาเลเซียก็ยังมีความได้เปรียบในเรื่องอัตราภาษีที่เหนือกว่าคู่แข่ง

ทั้งนี้ โครงสร้างภาษีของมาเลเซียนั้น จะเอื้อให้กับค่ายรถยนต์ที่มีการลงทุนในประเทศมาเลเซียมากกว่าค่ายรถรายอื่น ๆ ทำให้แบรนด์รถยนต์ท้องถิ่นที่มีการลงทุนที่หลากหลายในเรื่องของการผลิต รวมถึงการวิจัยและพัฒนา และสัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนในประเทศที่ยิ่งมาก ก็ยิ่งทำให้เสียภาษีลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ

นั่นคือสาเหตุที่ทำให้รถเอสยูวีรุ่นล่าสุดอย่างเอ็กซ์70 รุ่นพรีเมียม สามารถทำราคาจำหน่ายได้ที่ 122,800 ริงกิต (ประมาณ 9.26 แสนบาท) ขณะที่คู่แข่งอย่า Mazda CX-5 (มาสด้า ซีเอ็กซ์-5) มีราคาจำหน่ายที่ 167,660 ริงกิต  (ประมาณ 1.26 ล้านบาท) และ Honda CR-V (ฮอนด้า ซีอาร์-วี) ราคาขึ้นไปถึง 175,900 ริงกิต (ประมาณ 1.32 ล้านบาท)

OPINION: Proton จะกลับมาไทย ความยากอยู่ที่ขีดความสามารถในการแข่งขัน 02

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อโปรตอนไปทำตลาดประเทศอื่น

เอ็กซ์70 นั้นทำยอดจำหน่ายรวมไปได้มากถึง 1.33 หมื่นคัน เป็นผู้นำในตลาดซี-เอสยูวี โดยมียอดจำหน่ายเหนือกว่าฮอนด้า ซีอาร์-วี ที่มียอดจำหน่ายรวม 1.2 หมื่นคัน ทำให้โปรตอนมั่นใจว่าพวกเขานั้นน่าจะใช้สินค้าตัวนี้ในการเปิดตลาดอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทยหรือประเทศอินโดนีเซีย ก็มีความเป็นไปได้

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่โปรตอนจะต้องเจอแน่นอน เมื่อพวกเขาเตรียมกลับมาที่ไทย และนับเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้ไข 2 เรื่อง หนึ่งก็คือภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ดูค่อนข้างแย่ รวมถึงปัญหาเรื่องศูนย์บริการของพวกเขาที่ทิ้งปัญหาไว้มากมาย ในวันที่โปรตอนเองตัดสินใจพับกระเป๋าออกไปจากประเทศไทยในครั้งที่ผ่านมา

สอง แม้ราคาจำหน่ายของรถเอสยูวีในประเทศไทยจะดูสูงกว่าในมาเลเซีย แต่เมื่อเอ็กซ์70 ไม่มีสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีคุ้มครองแล้ว พวกเขาเองก็ต้องเผชิญกับปัญหาการตั้งราคาจำหน่ายในประเทศไทย ที่ไม่มีทางจะถูกกว่าซีอาร์-วี 3-4 แสนบาท เหมือนกับที่พวกเขาทำมาแล้วในตลาดบ้านเกิดอย่างมาเลเซีย

OPINION: Proton จะกลับมาไทย ความยากอยู่ที่ขีดความสามารถในการแข่งขัน 03

จริงอยู่ที่ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน ยังมีเขตการค้าเสรีอาเซียน ที่เปิดโอกาสให้แต่ละประเทศสามารถนำรถยนต์สำเร็จรูปเข้ามาจำหน่ายได้ด้วยการเสียภาษี 0% แต่ก็ไม่ได้ง่ายดายเหมือนอย่างที่คิด เพราะว่าข้อกำหนดพื้นฐานอย่างการใช้ชิ้นส่วนในอาเซียนมากกว่า 40% ทำให้พวกเขาต้องทำงานกันหนักขึ้น

จากที่เรารู้มา โปรตอน เอ็กซ์70 นั้นเป็นการนำเข้าชิ้นส่วนเกือบทั้งหมดจากประเทศจีน ที่ทำตลาด Geely Boyue (จีลี่ โบยิว) มาประกอบและเปลี่ยนโลโก้ในประเทศ ทำให้สัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนในประเทศนั้นค่อนข้างจะต่ำอยู่แล้ว หากต้องการส่งออกโดยใช้มาตรการ AFTA พวกเขาก็ต้องทำการบ้านให้หนักกว่านี้เหมือนกัน

OPINION: Proton จะกลับมาไทย ความยากอยู่ที่ขีดความสามารถในการแข่งขัน 04

ย้อนอดีต โปรตอน ประเทศไทย

กลับไปในปี 2550 โปรตอน โฮลดิ้งส์ เบอร์ฮาด ผู้ผลิตรถยนต์แห่งชาติของมาเลเซีย ได้แถลงข่าวแต่งตั้งบริษัท พระนครโอโตเซลส์ จำกัด ในเครือพระนครยนตรการ หรือ พีเอ็นเอ เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อโปรตอนในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โดยเริ่มเปิดตัวรถเพื่อทำตลาดกันอย่างรวดเร็วในช่วงปลายปีนั้นทันที

พีเอ็นเอนั้นมีชื่ออย่างมากในการทำตลาดรถยนต์รุ่นบุกเบิกในประเทศไทย พวกเขาเคยเป็นตัวแทนแบรนด์รถยนต์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Daihatsu (ไดฮัทสุ) Opel (โอเปิล) Hyundai (ฮุนได) หรือแม้แต่ Fiat (เฟียต) และ Alfa Romeo (อัลฟ่า โรเมโอ) ก่อนที่จะถือสิทธิ์ตัวแทนโปรตอนในสัญญาต่อเนื่องในการทำตลาดในประเทศไทย

โปรตอนเองนั้นก็มีความมั่นใจในตัวพีเอ็นเอเช่นเดียวกัน พร้อมทั้งมองว่าประสบการณ์และการมีโรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศไทยอาจจะเป็นประโยชน์ระยะยาวกับพวกเขาได้ ซึ่งพวกเขานั้นก็ให้สัญญากับพีเอ็นเอนานถึง 3 ปี พร้อมการต่อสัญญาอัตโนัมัติ 2 ปี เป็น 5 แรกโดยทันที และจากนั้นจะเจรจาร่วมกันอีกครั้งละ 3 ปี

OPINION: Proton จะกลับมาไทย ความยากอยู่ที่ขีดความสามารถในการแข่งขัน 05

พีเอ็นเอและโปรตอนนั้น มีการทำงานร่วมกันในประเทศไทยยาวนานถึง 11 ปี และมีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ ๆ เข้ามาทำตลาดในไทยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นซาก้า, เพอร์โซน่า, Gen-2 (เจน-ทู), Exora (เอ็กซ์โซร่า), Neo (นีโอ), Savvy (แซฟวี่) และตัวแรงอย่าง Preve' (เพรเว่) ก่อนที่จะไม่มีการต่อสัญญากัน ทำให้ต้องยุติการขายและการให้บริการในปี 2561

นอกเหนือไปจากตลาดที่ไม่ค่อยตอบรับรถยนต์ของโปรตอนมากนักในขณะนี้ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้พีเอ็นเอและโปรตอนไม่ได้ไปต่อ ก็คือการที่โปรตอนเองมีการปรับโครงสร้างการบริหารภายในจากการที่จีลี่เข้ามาซื้อหุ้น 49.9% นั่นเอง ซึ่งก็ทำให้ลูกค้าโปรตอนหลายรายในประเทศไทย เกิดอาการเคว้งคว้างต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน

การกลับเข้ามาอีกครั้ง จึงเป็นงานที่ไม่ง่ายเลยสำหรับแบรนด์โปรตอนในครั้งนี้!!!

OPINION: Proton จะกลับมาไทย ความยากอยู่ที่ขีดความสามารถในการแข่งขัน 06

 

Pisan

หัวหน้าทีมบรรณาธิการ

Head of Content ของ AutoFun Thailand ผู้ใช้ชีวิตกับรถมาตั้งแต่สมัยใส่ขาสั้นไปโรงเรียน ทุกวันนี้รถติดบนถนนมากกว่าวันละ 2-3 ชั่วโมง ที่้บ้านใช้งานรถหลายแบบ ตั้งแต่อีโคคาร์ เอ็มพีวีไปยันปิกอัพ อยู่ในวงการมายาวนานกว่า 2 ทศวรรษ ทำมาแล้วทุกอย่างทั้งงานเปิดตัว ทดสอบรถ ผ่านการอบรมการขับขี่ตั้งแต่คอร์สเริ่มต้นไปจนแอดวานซ์จากค่ายรถมากมายทั้งในและต่างประเทศ ยังเชื่อว่ารถทุกคันทำมาสำหรับลูกค้าบางกลุ่ม ถ้ามันไม่เหมาะกับคุณ ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่ดีสักหน่อยนะ...

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });
window._taboola = window._taboola || []; _taboola.push({ mode: 'thumbnails-a-2x2-stream', container: 'taboola-below-article-thumbnails', placement: 'Below Article Thumbnails', target_type: 'mix' });

ประเมินราคารับซื้ออย่างยุติธรรม มีราคากลาง

Toyota Yaris Ativ 1.2 Sport CVT 2022

แลก

เพิ่มรถของคุณ

ไม่อยากรอแลกรถ?   ขายรถ