window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_breadcrumb_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678150997-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678150997-0'); });

ผลวิจัยชี้ ผู้ที่ไม่ยอมฉีดวีคซีนโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์มากกว่า

Salin · Dec 22, 2022 12:18 PM

ผลวิจัยชี้ ผู้ที่ไม่ยอมฉีดวีคซีนโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์มากกว่า 01

  • เชื่อมโยงประวัติการฉีดวัคซีนกับความเสี่ยงโรคต่าง ๆ
  • การตัดสินใจฉีดวัคซีน กับการปฏิบัติตามกฎจราจร
  • ความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุนั้นมากกว่าเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบัน
  • เป็นการคาดเดาของผู้เขียนวิจัยเท่านั้น

งานวิจัยหนึ่งระบุว่า หากคุณไม่ได้ฉีดวัคซีน COVID-19 ความเสี่ยงที่จะประสบอุบัติเหตุรถชนอย่างรุนแรงจะเพิ่มขึ้นถึง 72%

การนำเสนอความจริงทางวิทยาศาสตร์หลายครั้งมีความน่าสนใจ เพราะสามารถเชื่อมโยงหลายเรื่องที่ไม่น่าจะเข้ากันให้เข้ากันได้ เช่นในงานวิจัยครั้งนี้ ที่เชื่อมโยงระหว่างคนที่ไม่ได้ฉัดวัคซีนป้องกัน COVID-19 กับอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้

ซึ่งงานวิจัยโดย The American Journal of Medicine พิสูจน์ได้ว่าทั้งสองเรื่องมีความเชื่อมโยงกันจริง

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });

ผลวิจัยชี้ ผู้ที่ไม่ยอมฉีดวีคซีนโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์มากกว่า 01

เชื่อมโยงประวัติการฉีดวัคซีนกับความเสี่ยงโรคต่าง ๆ

ในการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยชาวแคนาดาตรวจสอบประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 มากกว่า 11 ล้านคน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่มีบัตรประชาชน มาจากสังคม เศรษฐกิจ และพื้นฐานสุขภาพที่แตกต่างกัน

พบว่าใน 11 ล้านคนนั้น กว่า 16% (คิดเป็น 1,760,000 คน) นั้นไม่ได้รับการฉีดวัคซีน จากนั้น นักวิจัยจะตรวจสอบบันทึกและระบุบุคคลที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนว่ามีโรคที่เชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางรถยนต์ เช่น ภาวะสมองเสื่อม เบาหวาน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และการดื่มสุรา จากนั้นจึงพิจารณาด้านอุบัติเหตุจราจร 

สถานการณ์เหล่านั้นรวมถึงเหตุการณ์ทั้งวันและเวลาที่ส่งผู้ป่วยไปที่ห้องฉุกเฉิน การมีส่วนร่วมของรถพยาบาล และ "คะแนนความรุนแรงของการตรวจคัดกรอง" 

ผลวิจัยชี้ ผู้ที่ไม่ยอมฉีดวีคซีนโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์มากกว่า 02

การตัดสินใจฉีดวัคซีน กับการปฏิบัติตามกฎจราจร

เมื่อพิจารณาปัจจัยทั้งหมดแล้ว นักวิจัยจะสามารถระบุว่าคนที่ไม่ได้รับวัคซีนคนไหนมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์มากกว่า แต่สาเหตุของการเกิดนั้นไม่ใช่เพราะวัคซีน แต่เป็นเพราะมันเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจรับวัคซีน กับการปฏิบัติ (หรือไม่ปฏิบัติ) ตามกฎจราจร

นั่นไม่ได้หมายความว่า หากเราไม่ได้ฉีดวัคซีนแล้วจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ แต่นักวิจัยสรุปผลการศึกษานี้ว่าหากใครคนใดคนหนึ่งลังเลหรือไม่เต็มใจที่จะ “ป้องกันตนเอง” ด้วยวัคซีน คนเหล่านี้ก็มีแนวโน้มที่จะไม่คำนึงถึงกฎจราจร ซึ่งมีข้อมูลดังนี้

ผลวิจัยชี้ ผู้ที่ไม่ยอมฉีดวีคซีนโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์มากกว่า 03

ความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุนั้นมากกว่าเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบัน

จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ไม่ได้ฉีดวีคซีนกว่า 72% มีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง ตัวเลขเหล่านี้ยังมีเปอร์เซ็นต์ที่ “ใกล้เคียงกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ” แต่ไม่ได้รุนแรงเท่ากับคนที่ดื่มแล้วขับ

แต่ความเสี่ยงดังกล่าวก็ยังมีอยู่มาก เพราะจากงานวิจัยยังพบว่าความเสี่ยงนั้น “มากกว่าความปลอดภัยที่ได้รับจากความก้าวหน้าของวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และยังสร้างความเสี่ยงกับผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ ด้วย”

ผลวิจัยชี้ ผู้ที่ไม่ยอมฉีดวีคซีนโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์มากกว่า 04

เป็นการคาดเดาของผู้เขียนวิจัยเท่านั้น

สิ่งหนึ่งที่การศึกษายอมรับก็คือ “ความเกี่ยวข้องกันนั้นไม่ได้หมายถึงความเป็นเหตุเป็นผลกัน” โดยการศึกษาไม่ได้พยายามระบุว่ามีความเชื่อมโยงกันระหว่างการไม่ฉีดวัคซีนกับการขับรถโดยประมาทหรือไม่ แต่ผู้เขียนงานวิจัยนี้เป็นคนคาดเดาด้วยตัวเอง โดยอาจจะมีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบอีกมากมาย

“ความเป็นไปได้ประการหนึ่งนั้นเกี่ยวข้องกับการไม่ไว้วางใจรัฐบาลหรือความเชื่อในเสรีภาพที่ก่อให้เกิดความต้องการในการฉีดวัคซีนและความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ 

นอกจากนี้อาจเป็นความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเสี่ยงในชีวิตประจำวัน ความเชื่อในการปกป้องธรรมชาติ การต่อต้านกฎระเบียบ ความยากจนเรื้อรัง การเปิดรับข้อมูลที่ผิด ทรัพยากรไม่เพียงพอ หรือความเชื่อส่วนบุคคลอื่น ๆ 

ผลวิจัยชี้ ผู้ที่ไม่ยอมฉีดวีคซีนโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์มากกว่า 05

และยังมีปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นอัตลักษณ์ทางการเมือง ประสบการณ์เชิงลบในอดีต ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่จำกัด หรือเครือข่ายทางสังคมที่นำไปสู่ความวิตกเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ด้านสาธารณสุข ด้วยหัวข้อที่เหล่านี้จึงยังต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม”

สรุปแล้วการที่เราไม่ฉีดวัคซีนนั้นจะเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ ใครคิดเห็นอย่างไรสามารถมาแบ่งปันกันได้ครับ

อ่านเพิ่มเติม : เขาว่า "รถติด วิ่งเร็วไม่ได้ ไม่เกิดอุบัติเหตุ" แต่จะจริงหรือเมื่อผลวิจัยชี้ไปตรงกันข้าม

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });
window._taboola = window._taboola || []; _taboola.push({ mode: 'thumbnails-a-2x2-stream', container: 'taboola-below-article-thumbnails', placement: 'Below Article Thumbnails', target_type: 'mix' });

ประเมินราคารับซื้ออย่างยุติธรรม มีราคากลาง

Toyota Yaris Ativ 1.2 Sport CVT 2022

แลก

เพิ่มรถของคุณ

ไม่อยากรอแลกรถ?   ขายรถ