window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_breadcrumb_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678150997-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678150997-0'); });

ระบบเลี้ยวล้อหลังมีมานานแล้ว แต่มันคืออะไร มีประโยชน์แค่ไหน และมีที่มาอย่างไรบ้างนะ?

Salin · May 14, 2022 08:21 PM

ระบบเลี้ยวล้อหลังมีมานานแล้ว แต่มันคืออะไร มีประโยชน์แค่ไหน และมีที่มาอย่างไรบ้างนะ? 01

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่ารถยนต์ทุกคันสามารถใช้ล้อคู่หน้าในการเลี้ยวได้ แต่มีรถเพียงไม่กี่รุ่นเท่านั้นที่สามารถเลี้ยวล้อหลังได้ด้วยเช่นกัน

  • ที่มาของระบบเลี้ยวล้อหลัง
  • ประโยชน์และการทำงานของระบบเลี้ยวล้อหลัง
  • การกลับมาของระบบเลี้ยวล้อหลัง
  • การใช้ระบบเลี้ยวล้อหลังมาต่อยอด

ระบบเลี้ยวล้อหลังจะมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าระบบเลี้ยวสี่ล้อ (4WS) ผู้ผลิตรถยนต์เคลมว่าระบบเลี้ยวล้อหลังจะทำให้รถมีวงเลี้ยวที่แคบลงในความเร็วต่ำ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยวในวงเวียนที่แคบหรือบริเวณที่จอดรถ

ในตอนที่ความเร็วสูงขึ้น ระบบดังกล่าวจะให้เสถียรภาพของตัวรถที่เพิ่มขึ้น ทำให้การขับขี่มั่นใจและมั่นคงยิ่งขึ้น มาดูกันว่าระบบนี้มีวิวัฒนาการและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });

ระบบเลี้ยวล้อหลังมีมานานแล้ว แต่มันคืออะไร มีประโยชน์แค่ไหน และมีที่มาอย่างไรบ้างนะ? 01

Porsche 928

จุดเริ่มต้นระบบเลี้ยวล้อหลัง

แนวคิดของระบบการเลี้ยวที่ล้อหลังมีมานานหลายทศวรรษแล้ว โดยเทคโนโลยีนี้ได้รับการผลักดันขึ้นในช่วงปี 1970 ในรถหลายคัน เช่น Porsche 928 ที่ใช้ช่วงล่างแบบ Weissach axle เป็นครั้งแรก

ระบบเลี้ยวล้อหลังมีมานานแล้ว แต่มันคืออะไร มีประโยชน์แค่ไหน และมีที่มาอย่างไรบ้างนะ? 02

ระบบเลี้ยวล้อหลังมีมานานแล้ว แต่มันคืออะไร มีประโยชน์แค่ไหน และมีที่มาอย่างไรบ้างนะ? 03

ซึ่งจะทำให้บุชชิ่งของช่วงล่างหลังขยับให้ล้อรถคู่หลังค่อย ๆ งุ้มเข้า ลักษณะเหมือนงุ้มหัวแม่เท้าเข้าตรงกลาง ซึ่งจะเพิ่มเสถียรภาพของการขับขี่และลดการโอเวอร์สเตียร์อีกด้วย

ระบบเลี้ยวล้อหลังมีมานานแล้ว แต่มันคืออะไร มีประโยชน์แค่ไหน และมีที่มาอย่างไรบ้างนะ? 04

หลังจากนั้นในช่วงปี 1980 หรือ 1990 แบรนด์รถจากญี่ปุ่นก็ได้พัฒนาระบบนี้ไปอีกขั้นที่จะให้ประโยชน์มากขึ้น

ระบบเลี้ยวล้อหลังมีมานานแล้ว แต่มันคืออะไร มีประโยชน์แค่ไหน และมีที่มาอย่างไรบ้างนะ? 05

Nissan Skyline R31

Nissan คือค่ายญี่ปุ่นเจ้าแรกที่มีระบบนี้ โดยติดตั้งไว้ในรถในตำนานอย่าง Skyline รหัส R31 ในปี 1985 ในระบบที่เรียกว่า HICAS หรือ High Capacity Actively Controlled Suspension

แม้ว่าระบบเลี้ยวดังกล่าวจะมีจุดประสงค์เดียวกันกับของ Porsche นั่นคือ เพื่อปรับปรุงเสถียรภาพโดยการลดโอเวอร์สเตียร์และอันเดอร์สเตียร์ แต่ของนิสสันจะใช้ลูกสูบไฮดรอลิกที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์เพื่อการอัดบุชชิ่งซับเฟรม

สิ่งนี้ทำให้รถสามารถเลี้ยวล้อหลังทั้งในทิศงุ้มเข้าและแบะออกได้ถึง 0.5 องศา เพื่อเพิ่มเสถียรภาพในความเร็วสูง ไม่ว่ารถจะช้าลงหรือต้องการเลี้ยวโค้งก็ตาม ซึ่งต่างจากระบบของ Porsche

ระบบเลี้ยวล้อหลังมีมานานแล้ว แต่มันคืออะไร มีประโยชน์แค่ไหน และมีที่มาอย่างไรบ้างนะ? 06

1987 Honda Prelude

Honda ตามมาติด ๆ ด้วยระบบนี้ในปี 1987 ในรถคูเป้ในตำนานอีกรุ่นอย่าง Honda Prelude ซึ่งระบบจะต่างออกไปตรงที่จะเชื่อมต่อแร็คพวงมาลัยกับระบบช่วงล่างด้านหลังไปเลย ทำให้องศาที่ล้อหลังหมุนขึ้นอยู่กับการหมุนพวงมาลัย

หากคนขับค่อย ๆ หมุนพวงมาลัย (แบบที่ควรทำตอนเข้าโค้ง) ล้อคู่หลังจะเลี้ยวไปในทิศทางเดียวกันกับล้อหน้ามากสุด 1.5 องศาเพื่อเพิ่มเสถียรภาพของตัวรถ

แต่หากเป็นการเลี้ยวที่มากขึ้น (เช่นตอนยูเทิร์นหรือโค้งที่แคบ ๆ) ล้อคู่หลังจะสามารถหมุนได้ถึง 5.3 องศาในทิศทางตรงกันข้ามกับล้อคู่หน้า โดยทางฮอนด้าเคลมว่าระบบนี้จะลดวงเลี้ยวให้แคบลงได้ถึง 10%

ระบบเลี้ยวล้อหลังมีมานานแล้ว แต่มันคืออะไร มีประโยชน์แค่ไหน และมีที่มาอย่างไรบ้างนะ? 07

Mazda MX-6

Mazda, Mitsubishi, และ Toyota ก็มีระบบที่คล้ายกันนี้ตามมาอีกเช่นเดียวกันเป็นเวอร์ชั่นถัดมา โดยเป็นระบบเลี้ยวล้อหลังที่ถูกควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Mazda MX-6, Mitsubishi Galant VR-4 เจเนอเรชั่นที่ 6 และ Toyota Celica บางรุ่น ตามลำดับ ซึ่งนิสสันและฮอนด้าก็นำแนวคิดใหม่นี้มาใช้เช่นเดียวกัน

ในช่วงปี 1980 และต้นช่วงปี 90 นั้นเป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเฟื่องฟูสูงสุด ส่งผลให้อุตสาหกรรมของรถยนต์ของญี่ปุ่นมีความทะเยอทยานเป็นอย่างมาก แต่ภายหลังก็ได้หยุดชะงักลง

ระบบเลี้ยวล้อหลังมีมานานแล้ว แต่มันคืออะไร มีประโยชน์แค่ไหน และมีที่มาอย่างไรบ้างนะ? 08

ด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ ลูกค้าจะมีความกังวลว่าราคาที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความซับซ้อนและความน่าเชื่อถือของระบบนี้จะมากกว่าประสิทธิภาพที่จับต้องได้ของรถ

จึงทำให้ในช่วงต้นปี 2000 ผู้ผลิตรถจากญี่ปุ่นส่วนใหญ่จำใจต้องนำระบบเลี้ยวสี่ล้อออกไปจากรถที่พวกเขาผลิต เพื่อเน้นให้รถมีความน่าเชื่อถือ และมีราคาที่จับต้องได้มากขึ้น

ระบบเลี้ยวล้อหลังมีมานานแล้ว แต่มันคืออะไร มีประโยชน์แค่ไหน และมีที่มาอย่างไรบ้างนะ? 09

ระบบเลี้ยวล้อหลังใน S-Class

ระบบเลี้ยวล้อหลังกลับมาอีกครั้ง!

ระบบเลี้ยวล้อหลังนั้นมีประโยชน์อย่างแน่นอน ในแบรนด์ยุโรป เช่น Mercedes-Benz และ BMW (รวมถึง Rolls-Royce) เป็นผู้ที่นำเทคโนโลยีนี้กลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง

Mercedes-Benz นำระบบนี้มาใช้อีกครั้งใน S-Class รุ่นใหม่ล่าสุดและ The EQS ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบเลี้ยวล้อหลังที่ล้ำสมัยที่สุดในยุคนี้ ระบบเลี้ยวล้อหลังของเมอร์เซเดสสามารถเลี้ยวล้อหลังได้ถึง 4.5 องศาในทิศทางตรงข้ามกับล้อหน้าเมื่อขับขี่ไม่เกิน 60 กม./ชม. 

แต่ที่ความเร็วมากกว่านั้นล้อหลังและหน้าจะเลี้ยวไปทิศทางเดียวกันเพื่อเพิ่มเสถียรภาพขณะเข้าโค้ง

ระบบเลี้ยวล้อหลังมีมานานแล้ว แต่มันคืออะไร มีประโยชน์แค่ไหน และมีที่มาอย่างไรบ้างนะ? 10

ระบบเลี้ยวล้อหลังของ EQS

และในรุ่นที่ใช้ล้อขนาด 20 นิ้วหรือเล็กกว่าจะสามารถเลือกออพชั่นให้สามารถเลี้ยวล้อหลังได้มากถึง 10 องศา ทำให้รถขนาดใหญ่อย่าง S-Class (รุ่นฐานล้อสั้น) มีวงเลี้ยวเพียง 10.8 เมตร ซึ่งพอ ๆ กับ A-Class ซึ่งเป็นรถเล็กที่สุดของค่าย

รถคันอื่น ๆ ที่มีระบบเลี้ยวล้อหลังในทุกวันนี้ เช่น Mercedes-Benz C-Class, Renault Megane R.S., Lamborghini Urus, Porsche 911, BMW 7-Series (และ i7), รวมถึง Rolls-Royce Ghost. 

อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ขาดแคลนชิปเซมิอนดักเตอร์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้รถหลายคันอาจไม่มีฟีเจอร์นี้ชั่วคราว ตัวอย่างเช่น Mercedes-Benz C-Class จะไม่สามารถสั่งระบบเลี้ยวล้อหลังได้สำหรับออเดอร์ใหม่ (อาจมีแค่ในสต็อคเท่านั้น)

ระบบเลี้ยวล้อหลังมีมานานแล้ว แต่มันคืออะไร มีประโยชน์แค่ไหน และมีที่มาอย่างไรบ้างนะ? 11

การเลี้ยวแบบปูใน GMC Hummer EV

ต่อยอด

ในสหรัฐอเมริกา General Motors ได้ใช้ระบบเลี้ยวล้อหลังเพื่อพัฒนาการเลี้ยวแบบปู หรือ Crabwalk ซึ่งใช้ใน GMC Hummer EV ซึ่งระบบนี้ทำให้รถสามารถขับไปในแนวทแยงได้ คล้ายกับการเดินแบบปู เพื่อช่วยให้รถสามารถผ่านจุดเลี้ยวแคบ ๆ หรือทางออฟโรดต่าง ๆ ระบบนี้จะทำงานโดยตรวจสอบว่าล้อคู่หน้าและหลังนั้นเลี้ยวไปในองศาและทิศทางเดียวกัน

ระบบเลี้ยวล้อหลังมีมานานแล้ว แต่มันคืออะไร มีประโยชน์แค่ไหน และมีที่มาอย่างไรบ้างนะ? 12

Rivian R1T

ในเวลาเดียวกัน สตาร์ทอัพกระบะไฟฟ้าอย่าง Rivian ก็ได้สาธิตแนวคิดของการเลี้ยวแบบรถถังหรือ Tank Turn บนกระบะไฟฟ้า R1T และเอสยูวีอย่าง R1S ซึ่งระบบนี้ทำให้รถสามารถหมุนเป็นวงกลมได้ เหมือนเราจับรถหมุนเลยทีเดียว

Rivian กล่าวว่าระบบนี้ใช้ประโยชน์จากระบบส่งกำลังที่เป็นมอเตอร์ไฟฟ้า 4 ตัว เพื่อทำให้ล้อหน้าและหลังในด้านหนึ่งหมุนไปทิศทางเดียวกัน ส่วนล้ออีกข้างทั้งหน้าหลังก็หมุนไปในทิศทางตรงข้าม ซึ่งทำให้รถหมุนได้

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังมีปัญหาด้านความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือหลายประการที่จะนำฟีเจอร์ดังกล่าวมาใช้ในเวอร์ชั่นผลิตจริง

อ่านเพิ่มเติม : Ford จดสิทธิบัตรระบบเลี้ยวแบบ “รถถัง” และกระดานกันลื่นที่กลืนกับดีไซน์รถเพื่อชาวออฟโรด

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });
window._taboola = window._taboola || []; _taboola.push({ mode: 'thumbnails-a-2x2-stream', container: 'taboola-below-article-thumbnails', placement: 'Below Article Thumbnails', target_type: 'mix' });

ซื้อรถถูกกว่า ขายรถเร็วขึ้น

BMW 7-Series-Sedan 750e xDrive M Sport 2023

แลก

เพิ่มรถของคุณ

ไม่อยากรอแลกรถ?   ขายรถ
Electric Cars Thailand