window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_breadcrumb_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678150997-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678150997-0'); });

ถอดคำนิยามรถยนต์ไฟฟ้า 400V กับ 800V คืออะไร kW และ kWh เหมือนกันหรือไม่

May · Jan 11, 2022 08:25 PM

ถอดคำนิยามรถยนต์ไฟฟ้า 400V กับ 800V คืออะไร kW และ kWh เหมือนกันหรือไม่ 01

ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังมุ่งหน้าสู่การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าเต็มตัว หลายคนเริ่มให้ความสนใจรถอีวีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การเปลี่ยนผ่านจากรถเครื่องยนต์สันดาปไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าทำให้คำนิยามของตัวรถเปลี่ยนแปลงไปด้วย จากเดิม เราคุ้นเคยกับน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ เบนซิน 91 หรือ 95 ไปจนถึงเชื้อเพลิงไบโอดีเซล แต่นับจากนี้ คำศัพท์ของเครื่องยนต์กลไกจะมีความเกี่ยวข้องกับพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

เราไปชมกันว่าศัพท์แสงต่าง ๆ ที่ผู้คนมักใช้กับรถอีวีมีอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้ไม่สับสน มีความเข้าใจมากขึ้น และทำให้การติดตามข่าวหรือเลือกจับจองรถพลังงานทางเลือกสักคำมีความสะดวกง่ายดายกว่าเดิม

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });

ถอดคำนิยามรถยนต์ไฟฟ้า 400V กับ 800V คืออะไร kW และ kWh เหมือนกันหรือไม่ 01

kW และ kWh

เรามักได้เห็นตัวย่อของทั้งสองคำนี้อยู่เสมอในข่าวคราวของรถยนต์ไฟฟ้า kW คือกิโลวัตต์ (kilowatt) ส่วน kWh คือกิโลวัตต์ชั่วโมง (kilowatt-hour)

เริ่มจากคำว่ากิโลวัตต์ คือหน่วยของกำลังไฟฟ้า หากพูดในแง่ของการผลิตกระแสไฟฟ้ามักถูกเรียกกันในระดับ 1 ล้านวัตต์หรือเมกะวัตต์ แต่ถ้าในอุตสาหกรรมยานยนต์ กิโลวัตต์คือตัวชี้วัดพละกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าในรถอีวีซึ่งสามารถแปลงไปเป็นแรงม้าหรือ PS เพื่อให้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น

ถอดคำนิยามรถยนต์ไฟฟ้า 400V กับ 800V คืออะไร kW และ kWh เหมือนกันหรือไม่ 02

ขณะที่กิโลวัตต์ชั่วโมงคือการวัดพลังงานหรือความจุแบตเตอรี่ อาทิ ORA Good Cat (โอร่า กู๊ดแคท) รุ่น 400 TECH มีความจุอยู่ที่ 47.78 กิโลวัตต์ชั่วโมง

พูดง่าย ๆ ก็คือ กิโลวัตต์หมายถึงคุณจะไปได้เร็วเท่าไหร่ และกิโลวัตต์ชั่วโมงคือคุณจะไปได้ไกลเท่าไหร่นั่นเอง

ถอดคำนิยามรถยนต์ไฟฟ้า 400V กับ 800V คืออะไร kW และ kWh เหมือนกันหรือไม่ 03

โครงสร้างแบบ 400 V และ 800 V

ปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ใช้ระบบโครงสร้างไฟฟ้าแบบ 400 โวลต์หรือ 400 V ขณะที่ผู้ผลิตบางรายอย่าง Porsche (ปอร์เช่) และ Hyundai (ฮุนได) ได้พัฒนาโครงสร้าง 800 โวลต์หรือ 800 V ออกมาแล้วอย่าง Porsche Taycan (ปอร์เช่ ไทคาน)

Porsche เคลมว่าโครงสร้างแบบ 800 โวลต์มอบสมรรถนะที่มีเสถียรภาพกว่าเดิม ลดระยะเวลาชาร์จไฟ พร้อมกับลดน้ำหนักตัวรถได้อีกด้วย

ถอดคำนิยามรถยนต์ไฟฟ้า 400V กับ 800V คืออะไร kW และ kWh เหมือนกันหรือไม่ 04

หากเทียบให้เห็นภาพ โครงสร้างไฟฟ้า 400 โวลต์คือแม่น้ำที่มีความแคบ ส่วน 800 โวลต์เปรียบเหมือนแม่น้ำที่กว้างกว่า กระแสไฟฟ้าคือกระแสน้ำ และพละกำลังคือปริมาณน้ำ แม่น้ำที่กว้างกว่าหรือในที่นี้คือโครงสร้าง 800 โวลต์ย่อมรองรับปริมาณน้ำได้มากกว่าและกระแสน้ำที่ไหลบ่าได้รวดเร็วกว่า นั่นหมายถึงพละกำลังที่สูงกว่าด้วย

อาจมีคนตั้งคำถามว่าทำไมถึงไม่เพิ่มกระแสไฟฟ้าเพื่อยกระดับพละกำลัง คำตอบก็คือการเพิ่มกระแสไฟฟ้าจะทำให้เกิดความร้อนมากขึ้น สายเคเบิลของเครื่องชาร์จไฟ DC ส่วนใหญ่จึงมักมีความหนามากกว่า การลดระยะเวลาชาร์จไฟลงจึงสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สดด้วยการเปลี่ยนจาก 400 โวลต์ไปเป็น 800 โวลต์

ถอดคำนิยามรถยนต์ไฟฟ้า 400V กับ 800V คืออะไร kW และ kWh เหมือนกันหรือไม่ 05

AC และ DC

การชาร์จไฟแบบกระแสสลับ AC หรือ alternating current และกระแสตรง DC หรือ direct current เกี่ยวข้องโดยตรงกับรถยนต์ไฟฟ้า เพราะเจ้าของรถต้องใช้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันหรือเมื่อกำลังไฟในแบตเตอรี่กำลังจะหมดลง

เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าไม่ว่าเครื่องชาร์จไฟจะเป็นแบบ AC หรือ DC สุดท้ายเมื่อเสียบปลั๊กเข้าไปแล้ว กระบวนการชาร์จไฟทั้งหมดที่เกิดขึ้นในตัวรถนั้นจะเป็นระบบ DC ด้วยการแปลงจาก AC ไปเป็น DC ด้วยตัวคอนเวอร์เตอร์ในสถานีชาร์จไฟหรือในตัวรถ

ถอดคำนิยามรถยนต์ไฟฟ้า 400V กับ 800V คืออะไร kW และ kWh เหมือนกันหรือไม่ 06

จุดชาร์จไฟในที่พักอาศัยทั้งหมดจะเป็นการชาร์จแบบ AC ซึ่งใช้เวลานานกว่า ขณะที่สถานีชาร์จไฟสาธารณะที่เราเริ่มพบเห็นมากขึ้นนั้นมีทั้งแบบ AC และ DC ซึ่งอย่างหลังใช้เวลาชาร์จเร็วกว่าหลายเท่าตัว ความแตกต่างหลักระหว่าง AC และ DC คือระยะเวลาชาร์จไฟ สถานีชาร์จไฟเร็วทุกแห่งจะมีคอนเวอร์เตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่เหมือนเต้าปลั๊กที่ทำให้การชาร์จสมาร์ทโฟนของเราเต็มแบตเตอรี่อย่างรวดเร็ว

คำถามคือทำไมถึงไม่มีแต่ระบบชาร์จ DC คำตอบก็คือประสิทธิภาพของการจ่ายไฟฟ้า เนื่องจากการจ่ายไฟแบบ AC นั้นสะดวกกว่า มีการสูญเสียพลังงานน้อยกว่า การนำส่งกระแสไฟฟ้าระยะไกลทำได้ง่ายกว่า ดังนั้น การจ่ายไฟจากโรงผลิตไฟฟ้ากว่าจะมาถึงพี่พักอาศัยนั้น ระบบ AC เหมาะสมที่สุด

May

นักเขียนอาวุโส

อดีตนักข่าว เอเจนซี่ และฟรีแลนซ์ฝีมือเยี่ยม ที่นำประสบการณ์ร่วม 20 ปีมาถ่ายทอดคอนเทนท์และประเด็นข่าวในวงการยานยนต์ทั้งไทยและเทศในรูปแบบที่สดใหม่และแตกต่าง

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });
window._taboola = window._taboola || []; _taboola.push({ mode: 'thumbnails-a-2x2-stream', container: 'taboola-below-article-thumbnails', placement: 'Below Article Thumbnails', target_type: 'mix' });

ประเมินราคารับซื้ออย่างยุติธรรม มีราคากลาง

Honda City 1.0 S 2021

แลก

เพิ่มรถของคุณ

ไม่อยากรอแลกรถ?   ขายรถ