window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_breadcrumb_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678150997-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678150997-0'); });

ทำไมบริษัทรถยนต์ต้องใช้ “ศพมนุษย์” ทดสอบการชนเพื่อพัฒนาความปลอดภัย

May · Jan 29, 2022 06:25 AM

ทำไมบริษัทรถยนต์ต้องใช้ “ศพมนุษย์” ทดสอบการชนเพื่อพัฒนาความปลอดภัย 01

นับตั้งแต่อุบัติเหตุทางรถยนต์ครั้งแรกของโลกเกิดขึ้นในปี 1896 ความปลอดภัยด้านยานยนต์ได้ถูกพัฒนาเพื่อสร้างความก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง

ตามบันทึกประวัติศาสตร์ คนเดินถนนคนแรกที่ถูกรถชนจนเสียชีวิตมีชื่อว่าบริดเจ็ท ดริสคอลล์ สตรีชาวอังกฤษวัย 44 ปี อุบัติเหตุดังกล่าวทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์มีความตื่นตัวและเริ่มตระหนักว่ายานพาหนะติดเครื่องยนต์นั้นมีอันตรายถึงแก่ชีวิตมากกว่ารถเทียมม้าหลายเท่าตัว

ช่วงต้นทศวรรษที่ 20 บริษัทรถยนต์เริ่มแข่งขันกันคิดค้นวิจัยระบบความปลอดภัย นำมาซึ่งการทดสอบและเรียนรู้เกี่ยวกับแรงชนปะทะและผลกระทบที่มีต่อผู้โดยสาร

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });

ทำไมบริษัทรถยนต์ต้องใช้ “ศพมนุษย์” ทดสอบการชนเพื่อพัฒนาความปลอดภัย 01

เริ่มทดสอบการชน

ยิ่งมีจำนวนรถยนต์เพิ่มขึ้นบนถนนมากเท่าไหร่ ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุการชนกันมากขึ้นเท่านั้น บริษัทรถยนต์จึงเริ่มทำการทดสอบการชนปะทะเพื่อปกป้องผู้ขับขี่และผู้โดยสารภายในรถ

ช่วงทศวรรษที่ 1930 เริ่มมีการใช้ “ศพมนุษย์” ในการทดสอบความปลอดภัยด้านยานยนต์ เมื่อนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเวนย์ สเตทในเมืองดีทรอยท์ของสหรัฐอเมริกา ทำการโยนศพมนุษย์ลงในช่องลิฟท์ เพื่อทดสอบความแข็งแรงของกระโหลกศีรษะมนุษย์

ลอว์เรนซ์ แพทริค หัวหน้าทีมนักวิจัยในขณะนั้นของมหาวิทยาลัยเวนย์ สเตท พบว่ากระโหลกศีรษะมนุษย์สามารถทนแรงกดกระแทกได้สูงถึง 1 ตันครึ่งในช่วงเวลา 1 วินาที  นอกจากนี้ยังมีการทดสอบด้วยการใช้ของมีคมเสียบหน้าอก การอัดกระแทกที่หัวเข่าหรือกระดูกสันหลังเพื่อหาผลลัพธ์ว่ามนุษย์ทนทานต่อแรงกระทำมากน้อยเพียงใด เมื่อได้รับข้อมูลแล้วก็สามารถนำไปต่อยอดสู่การพัฒนาระบบป้องกันในรถยนต์

การทดสอบการชนด้วยการใช้ศพมนุษย์ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและบ่อยครั้งมากขึ้นจนถึงขั้นที่ว่านักวิจัยไม่สามารถหาศพมนุษย์ได้มากเพียงพอต่อการทดสอบ พวกเขาจึงเริ่มใช้สัตว์ทดลองแทน

ทำไมบริษัทรถยนต์ต้องใช้ “ศพมนุษย์” ทดสอบการชนเพื่อพัฒนาความปลอดภัย 02

ช่วงทศวรรษที่ 1950 หมูที่ถูกวางยาสลบถูกนำมาใช้แทนมนุษย์ เหตุผลง่าย ๆ ที่ใช้หมูเป็น ๆ ก็เพราะมีราคาถูก หาง่าย และมีโครงสร้างอวัยวะภายในคล้ายมนุษย์ หมูจึงกลายเป็น “หุ่นดัมมี่” ทดแทนมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

อย่างไรก็ตาม ประเด็นสิทธิสัตว์ถูกพูดถึงอย่างร้อนแรงในช่วงทศวรรษที่ 1980 การทดสอบความปลอดภัยในรถยนต์ด้วยการใช้สัตว์ทดลองจึงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ก่อนหน้านั้น กองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกายังเคยใช้มนุษย์ในการทดสอบอากาศยาน บุคคลที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์คือดร. จอห์น พอล สแต็พ ศัลยแพทย์ที่ยอมเสียสละเป็น “หุ่นดัมมี่” เพื่อทำการทดสอบการออกตัวและลงจอดของเครื่องบินรุ่นต้นแบบด้วยตนเอง

ดร.สแต็พถูกนำมานั่งอยู่ในแท่นเลื่อนปล่อยเครื่องบินรุ่นต้นแบบที่มีการเร่งจาก 0 – 1017 กม.ต่อชม. ภายในเวลา 5 วินาที ก่อนที่จะเบรกจนหยุดสนิทภายใน 1.4 วินาทีเท่านั้น การเคลื่อนที่อย่างรุนแรงสุดขั้วทำให้ร่างกายของดร.สแต็พต้องรับแรงกดดันถึง 4 ตันในเสี้ยววินาที ทำให้ซี่โครงหักหลายซี่ ตาบอดชั่วขณะ ข้อมือหัก และมีอาการบาดเจ็บทั่วร่างกาย

ถึงแม้การเสียสละของดร.แสต็พจะทำให้กองทัพอากาศของสหรัฐมีแสนยานุภาพเพิ่มขึ้น แต่ก็มีเสียงเรียกร้องให้ใช้หุ่นทดสอบแทนมนุษย์จริง

ทำไมบริษัทรถยนต์ต้องใช้ “ศพมนุษย์” ทดสอบการชนเพื่อพัฒนาความปลอดภัย 03

นั่นทำให้มีการพัฒนาหนึ่งในหุ่นดัมมี่ทดสอบตัวแรกของโลกที่มีชื่อว่า Sierra Sam ในปี 1949 และความสำเร็จของหุ่นดัมมี่ตัวแรกนี้เองที่ทำให้มีการพัฒนาหุ่นทดสอบที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ก่อนถูกใช้งานอย่างแพร่หลายโดยบริษัทรถยนต์ทั่วโลก ความจำเป็นในการใช้สัตว์ที่ยังมีชีวิตหรือศพมนุษย์ก็ลดน้อยถอยลงไป

แต่ทำไมยังมีการใช้ศพมนุษย์ทดสอบความปลอดภัย

ในปี 1993 มีการเปิดเผยว่ามหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กในประเทศเยอรมนีใช้ศพมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่กว่า 200 ศพในการทดสอบการชนในรถยนต์

นักวิจัยของมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กชี้แจงว่าการใช้ศพมีความจำเป็นต่อการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับร่างกายหลังเกิดอุบัติเหตุ และจะช่วยปกป้องชีวิตผู้คนนับไม่ถ้วน

“การใช้ศพเด็กมาทดสอบเช่นนี้จะช่วยปกป้องเด็กคนอื่น ๆ ได้ในอนาคต” ดร. ไรเนอร์ แมทเทิร์น อดีตหัวหน้าภาควิชานิติพยาธิวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กกล่าว

ทำไมบริษัทรถยนต์ต้องใช้ “ศพมนุษย์” ทดสอบการชนเพื่อพัฒนาความปลอดภัย 04

คำกล่าวอ้างดังกล่าวสอดคล้องกับผลวิจัยของมหาวิทยาลัยเวนย์ สเตท ที่เคยตีพิมพ์ในปี 1995 ระบุว่า การทดสอบการชนและการวิจัยความปลอดภัยในยานยนต์ด้วยการใช้ศพมนุษย์สามารถลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนได้ถึง 8,500 ครั้งต่อปีเลยทีเดียว

เช่นเดียวกับ จอร์จ พาร์กเกอร์ อดีตผู้อำนวยการหน่วยงานความปลอดภัยบนถนนหลวงของสหรัฐอเมริกาหรือ NHTSA ที่เคยให้สัมภาษณ์ว่า อุตสาหกรรมยานยนต์จำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลจากการทดสอบการชนกับศพมนุษย์ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม

“การใช้ร่างกายมนุษย์เพื่อทดสอบยังมีความจำเป็นต่อการรวบรวมข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบกับหุ่นดัมมี่ หากคุณไม่ทำการทดสอบเช่นนี้ คุณจะไม่สามารถประเมินขีดจำกัดของหุ่นดัมมี่ในการทดสอบการชนได้” พาร์กเกอร์ กล่าวเพิ่มเติม

ทำไมบริษัทรถยนต์ต้องใช้ “ศพมนุษย์” ทดสอบการชนเพื่อพัฒนาความปลอดภัย 05

แต่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมนีอย่าง ADAC แสดงความไม่เห็นด้วย โดยระบุว่าในยุคที่สังคมตั้งคำถามถึงการใช้สัตว์มาทดลองทางวิทยาศาสตร์ การทดสอบความปลอดภัยในรถยนต์ควรใช้หุ่นดัมมี่ ไม่ใช่ศพมนุษย์

นอกจากนี้ยังมีการตั้งคำถามว่าผลการทดสอบกับศพมนุษย์นั้นไม่สามารถหาได้จากหุ่นดัมมี่จริงหรือ และครอบครัวของผู้บริจาคร่างกายนั้นยินยอมที่จะให้ศพของคนที่รักไปถูกทดสอบการชนหรือไม่ เนื่องจากมีรายงานว่านักวิจัยของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จะปกปิดชื่อของผู้เสียชีวิตที่บริจาคร่างกายไว้เป็นความลับ ไม่มีการบอกญาติของผู้เสียชีวิตว่าจะทำการทดสอบเมื่อไหร่ และทดสอบอะไร

ขณะเดียวกัน นอกเหนือจากประเด็นด้านจริยธรรม การใช้ศพมนุษย์ทดสอบความปลอดภัยในยานพาหนะนั้นมีจุดด้อยเช่นกัน เนื่องจากศพมนุษย์แต่ละรายนั้นมีรูปร่างแตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลที่มีมาตรฐานสมบูรณ์ได้ และแต่ละศพก็จะถูกใช้ได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น 

นอกจากนี้ ศพมนุษย์ที่ถูกบริจาคมาเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้นมักเป็นผู้เสียชีวิตที่มีอายุมากจึงมีร่างกายและกระดูกเปราะบาง โดย NHTSA ระบุว่าอายุเฉลี่ยของศพที่ถูกใช้ทดสอบนั้นอยู่ที่ 72 ปี ส่วนศพที่อายุน้อยนั้นมักเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์และสภาพศพมักไม่เหมาะสมสำหรับการวิจัย

อ่านเพิ่มเติม: เผยเบื้องหลัง “ศพมนุษย์” ถูกใช้ทดสอบการชนบนเส้นขอบจริยธรรม

May

นักเขียนอาวุโส

อดีตนักข่าว เอเจนซี่ และฟรีแลนซ์ฝีมือเยี่ยม ที่นำประสบการณ์ร่วม 20 ปีมาถ่ายทอดคอนเทนท์และประเด็นข่าวในวงการยานยนต์ทั้งไทยและเทศในรูปแบบที่สดใหม่และแตกต่าง

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });
window._taboola = window._taboola || []; _taboola.push({ mode: 'thumbnails-a-2x2-stream', container: 'taboola-below-article-thumbnails', placement: 'Below Article Thumbnails', target_type: 'mix' });

ประเมินราคารับซื้ออย่างยุติธรรม มีราคากลาง

2022 MG 5 D+ CVT

แลก

เพิ่มรถของคุณ

ไม่อยากรอแลกรถ?   ขายรถ