FAQ ภาษีรถยนต์
ทำไมต้องต่อภาษีรถยนต์ และภาษีประเภทนี้มีความสำคัญอย่างไร?
การชำระภาษีรถยนต์ประจำปีเป็นหน้าที่ของผู้ใช้รถยนต์และมอเตอร์ไซค์ทุกคน ภาษีที่จัดเก็บได้ในส่วนนี้มักถูกนำไปพัฒนาระบบคมนาคม ถนนหนทาง ระบบไฟส่องสว่าง และโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั่วประเทศ
รถประเภทใดบ้างที่ต้องต่อชำระภาษีรถยนต์?
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถยนต์บรรทุก รถนิติบุคคล รวมถึงมอเตอร์ไซค์ทุกประเภท สามารถต่อภาษีที่สำนักงานการขนส่ง จุดบริการตามสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงผ่านช่องทางออนไลน์
อย่างไรก็ตาม มีเงื่อนไขว่ารถยนต์ที่มีอายุใช้งานเกิน 7 ปี รถมอเตอร์ไซค์ที่มีอายุใช้งานเกิน 5 ปี รถที่ติดตั้งแก๊ส และรถทุกประเภทที่ขาดการต่อภาษีเกิน 1 ปีต้องเข้ารับการตรวจสภาพประจำปีก่อนชำระภาษีและต้องชำระที่สำนักงานขนส่งเท่านั้น
ค่าใช้จ่ายในการตรวจสภาพประจำปีของรถยนต์อยู่ที่ประมาณ 150 – 250 บาท ส่วนมอเตอร์ไซค์อยู่ที่ประมาณ 60 บาท สามารถนำรถเข้าตรวจสภาพได้ที่กรมการขนส่งทางบกหรือสถานตรวจสภาพรถเอกชนได้ตามสะดวก โดยสถานตรวจสภาพรถของเอกชนเกือบทุกแห่งจะมีบริการต่อภาษีโดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานขนส่งรถใหม่ป้ายแดงต้องเสียภาษีเมื่อไหร่?
เมื่อถอยรถใหม่ที่ติดป้ายแดงออกจากโชว์รูม ผู้ขับขี่จะยังไม่ได้รับป้ายสี่เหลี่ยมเนื่องจากตัวรถยังไม่ได้รับการจดทะเบียน แต่จะมีเฉพาะสมุดบันทึกเพื่อลงชื่อ นามสกุล และจุดหมายของการใช้งานรถ
โดยปกติแล้ว ตัวแทนจำหน่ายของบริษัทรถยนต์จะรับภาระการชำระค่าภาษีปีแรกของรถยนต์ใหม่ และเมื่อได้รับป้ายขาวที่จดทะเบียนแล้วพร้อมกับป้ายสี่เหลี่ยมติดหน้ากระจกรถ ผู้ใช้งานจะทราบวันที่สิ้นสุดอายุตามที่ระบุในป้ายสี่เหลี่ยมเพื่อเตรียมตัวชำระภาษีในปีที่ 2ต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้นานเพียงใด?
การต่อภาษีรถยนต์ทำได้ล่วงหน้า 90 วันก่อนถึงวันสิ้นอายุตามที่ระบุไว้บนป้ายสี่เหลี่ยม ถือว่าสะดวกสบายอย่างมากสำหรับผู้ใช้รถเพราะสามารถเลือกวันและเวลาในการเดินทางไปสำนักงานขนส่ง อีกทั้งยังสามารถต่อภาษีผ่านช่องทางออนไลน์และรอป้ายส่งตรงถึงบ้านได้ในเวลาไม่กี่วัน
ถ้าไม่ต่อภาษีรถยนต์หรือชำระล่าช้าจะเกิดอะไรขึ้น?
การไม่ต่อภาษีรถยนต์เป็นการกระทำผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเปรียบเทียบปรับได้ไม่เกิน 2,000 บาท นอกจากนี้ รถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ที่ขาดการเสียภาษีนานติดต่อกันตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปจะถูกตัดออกจากบัญชีในทะเบียน และเมื่อต้องยื่นขอจดทะเบียนใหม่หรือคืนแผ่นป้ายเดิมก็ต้องเสียภาษีย้อนหลังรวมถึงค่าปรับด้วย
ในกรณีที่ชำระภาษีประจำปีล่าช้า ผู้ใช้รถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์จะต้องเสียค่าเบี้ยปรับร้อยละ 1 ต่อเดือนของอัตราภาษีรถประจำปีต่อภาษีรถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
เอกสาร 2 ฉบับที่ต้องใช้ในการต่อภาษีคือ
1.สมุดเล่มทะเบียนรถ
2.หลักฐานการทำพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ทั้งนี้ เอกสารฉบับที่ 3 ที่จะมีเพิ่มเติมเข้ามาสำหรับผู้ใช้รถยนต์เกิน 7 ปีและมอเตอร์ไซค์เกิน 5 ปีคือใบรับรองการตรวจสภาพรถ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถหรือ พ.ร.บ. รถยนต์ คือประกันภัยภาคบังคับตามกฎหมายพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 อันมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากจะช่วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุรถยนต์ และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ประสบภัยจากรถทุกคน ไม่ว่าจะได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยปกติแล้ว พ.ร.บ. รถยนต์จะจัดทำพร้อมกับประกันภัยที่คุ้มครองตัวรถยนต์ต่อภาษีรถยนต์ที่ใดได้บ้าง?
ปัจจุบันมีหลากหลายช่องทางให้ผู้ใช้รถและมอเตอร์ไซค์สามารถเลือกชำระภาษีได้ตามต้องการ ดังนี้
1.สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ ไม่ว่ารถจะจดทะเบียนที่จังหวัดใดก็ตาม โดยผู้ขับขี่สามารถใช้บริการ เลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) โดยไม่ต้องลงจากรถ
2.ที่ทำการไปรษณีย์
3.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
4.ห้างสรรพสินค้าที่มีจุดบริการต่อภาษี “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี” (Shop Thru for Tax) อาทิ บิ๊กซี เซ็นทรัลเวิลด์ พาราไดส์พาร์ค และอื่น ๆ
5.ช่องทางออนไลน์ของกรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf
6.ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
หากไม่นับการชำระภาษีที่สำนักงานขนส่ง ช่องทางอื่น ๆ จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมและต้องรอสมุดทะเบียนรถกับป้ายสี่เหลี่ยมส่งมาถึงบ้านในภายหลัง แต่จะมีความสะดวกมากกว่า อาทิจุดบริการในห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่เปิดให้บริการวันเสาร์และอาทิตย์ ส่วนช่องทางออนไลน์เอื้อให้ผู้ใช้รถสามารถชำระภาษีที่ไหนก็ได้ เพียงแค่มีมือถือ แท็บเล็ต หรือแล็ปท็อปกับสัญญาณอินเตอร์เน็ต
อย่างไรก็ตาม การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์หรือจุดบริการที่ไม่ใช่สำนักงานขนส่งจะให้บริการเฉพาะรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปีและมอเตอร์ไซค์อายุไม่เกิน 5 ปีที่ไม่ต้องตรวจสภาพรถตรวจสอบอัตราภาษีรถยนต์อย่างไร?
วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ และอัตราการเสียภาษีรถยนต์นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ขนาดเครื่องยนต์คิดเป็นซีซี ประเภทรถ และอายุใช้งาน เป็นต้น
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน มีอัตราดังนี้
1. จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)- 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท
- 601 - 1,800 ซีซี ๆ ละ 1.50 บาท
- เกิน 1,800 ซีซี ๆ ละ 4.00 บาท
ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์ Mazda 3 เครื่องยนต์ 1,998 ซีซี รถใช้งานมานาน 3 ปี
ช่วง 600 ซีซีแรกอยู่ที่ 300 บาท
ช่วง 601 – 1,800 ซีซีอยู่ที่ 1,798.50 บาท
ช่วง 1,800 ซีซีขึ้นไปอยู่ที่ 792 บาท
รวมค่าภาษีที่ต้องจ่ายทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 2,890.50 บาททั้งนี้ หากเป็นรถของนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อจะจัดเก็บในอัตราสองเท่า นอกจากนี้ หากเป็นรถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อ ๆ ไป ดังนี้
- ปีที่ 6 ร้อยละ 10
- ปีที่ 7 ร้อยละ 20
- ปีที่ 8 ร้อยละ 30
- ปีที่ 9 ร้อยละ 40
- ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ร้อยละ 50
2. จัดเก็บเป็นรายคันตามประเภทของรถ มีอัตราดังนี้
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
- รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
- รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
- รถพ่วงนอกจากข้อ 2.3 คันละ 100 บาท
- รถบดถนน คันละ 200 บาท
- รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท
3. จัดเก็บตามน้ำหนัก มีอัตราดังนี้
น้ำหนักรถ (กิโลกรัม) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้าง รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถลากจูง รถแทรกเตอร์ที่มิได้ใช้ในการเกษตร ไม่เกิน 500 150 450 185 300 501 – 750 300 750 310 450 750 – 1,000 450 1,050 450 600 1,001 – 1,250 800 1,350 560 750 1,251 – 1,500 1,000 1,650 685 900 1,501 – 1,750 1,300 2,100 875 1,050 1,751 – 2,000 1,600 2,550 1,060 1,350 2,001 – 2,500 1,900 3,000 1,250 1,650 2,501 – 3,000 2,200 3,450 1,435 1,950 3,001 – 3,500 2,400 3,900 1,625 2,250 3,501 – 4,000 2,600 4,350 1,810 2,550 4,001 – 4,500 2,800 4,800 2,000 2,850 4,501 – 5,000 3,000 5,250 2,185 3,150 5,001 – 6,000 3,200 5,700 2,375 3,450 6,001 – 7,000 3,400 6,150 2,560 3,750 7,001 ขึ้นไป 3,600 6,600 2,750 4,050 4. รถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนสามารถผ่อนชำระภาษีรถยนต์ได้หรือไม่?
โดยทั่วไปแล้ว ภาษีรถยนต์ไม่สามารถชำระแบบผ่อนรายเดือนได้ แต่สามารถเลือกชำระด้วยบัตรเครดิตซึ่งสามารถขอผ่อนชำระกับธนาคารหรือสถาบันการเงินเจ้าของบัตรได้
หากมีใบสั่งค้างจ่ายสามารถต่อชำระภาษีรถยนต์ได้หรือไม่?
ประเด็นนี้ถูกพูดถึงกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล่าสุด กรมการขนส่งทางบกยืนยันว่า ถึงแม้ผู้ขับขี่จะมีใบสั่งค้างจ่ายจากกรณีใดก็ตาม อาทิ ใบสั่งจากกล้องตรวจจับความเร็ว กรมฯ ได้อำนวยความสะดวกให้สามารถชำระภาษีรถประจำปีได้ แต่จะได้รับเอกสารหลักฐานแสดงการเสียภาษีประจำปีชั่วคราว ซึ่งมีอายุ 30 วัน นับแต่วันที่นายทะเบียนออกให้เท่านั้น ซึ่งหากชำระค่าปรับแล้วสามารถนำหลักฐานใบเสร็จการชำระค่าปรับมาแสดง เพื่อรับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถประจำปีฉบับจริงได้ในภายหลัง
ผู้ขับขี่ที่สงสัยว่าตนเองมีใบสั่งค้างจ่ายหรือไม่ สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ https://ptm.police.go.th/eTicket/
ความนำภาษี
เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับภาษีรถ และการชำระภาษีประจำปี
คนใช้รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ และรถประเภทอื่น ๆ ในประเทศไทยทุกคนต้องจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปีหรือที่เรียกกันติดปากว่า “ภาษีป้ายสี่เหลี่ยม” (เดิมคือป้ายวงกลม) ซึ่งเป็นข้อกำหนดตามกฎหมายพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
การต่อภาษีแต่ละปีไม่ใช่เรื่องยากเย็น แต่สำหรับผู้ใช้รถมือใหม่หลายคนหรือผู้ที่ใช้รถมานานแล้วบางคนก็อาจเกิดความสับสนกับอัตราภาษีที่ต้องชำระ เอกสารที่ต้องใช้ ส่วนลดตามจำนวนปีที่ใช้รถ ช่องทางการจ่ายภาษี และผลกระทบที่ตามมาหากหลงลืมชำระ
แม้การต่อภาษีรถยนต์จะเป็นเรื่องที่ผู้ใช้รถใช้ถนนจำเป็นต้องทำกันทุกปี เพื่อให้สามารถใช้รถได้อย่างไม่มีปัญหา ไม่โดนเจ้าหน้าที่ตำรวจทำการจับ-ปรับหากพบการหลีกเลี่ยงการชำระภาษี นอกจากนี้ ต้องรำลึกว่าภาษีที่เราจ่ายไปนั้น ก็จะย้อนกลับมาดูแลบำรุงถนนหนทางให้พวกเรานั่นเอง
เตรียมความพร้อมก่อนชำระภาษีประจำปี
หากรถของคุณยังอยู่ในการผ่อนชำระอยู่ คุณสามารถเลือกได้ว่าจะให้ทางไฟแนนซ์เป็นคนจัดการชำระค่าภาษีประจำปีให้ หรือจะนำเอกสารไปชำระเองก็ได้ ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่มีให้เลือกมากมายทั้งที่สถานที่รับชำระภาษีต่าง ๆ หรือจะเป็นช่องทางออนไลน์ก็มีให้เลือกอย่างหลากหลาย
เอกสารที่ต้องเตรียมไปนั้น ประกอบไปด้วย 1.หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยนต์ หรือใบแทน 2.หลักฐานการทำ พ.ร.บ. ฉบับปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ 3.หลักฐานรับรองการผ่านการตรวจสภาพรถ หากเป็นรถที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และสุดท้ายก็คือค่าต่อภาษีที่ต้องเตรียมให้พร้อม
ทั้งนี้ เจ้าของรถสามารถต่อล่วงหน้าได้ก่อนทะเบียนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน และหากชำระล่าช้าจะถูกปรับเดือนละ 1% ของอัตราภาษี และหากขาดชำระติดต่อกันนาน 3 ปี รถจะถูกระงับการใช้ทะเบียนทันที แถมถ้าขาดต่อภาษี ก็อาจจะโดนเจ้าหน้าที่ปรับ 1,000-2,000 บาทกันเลยทีเดียว
ช่องทางที่สามารถชำระภาษีประจำปีได้
การชำระภาษีรูปแบบเดิมที่ใช้กันมาอย่างยาวนานก็ยังเปิดให้บริการอย่างคึกคัก ไม่ว่าจะเป็นการบริการรับชำระภาษีรถประจำปี ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 ที่เปิดให้บริการ 0800 น. - 16.00 น. ทุกวันยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดราชการ ซึ่งมีผู้ใช้บริการมากที่สุด
ขณะเดีนวกัน ผู้ใช้บริการที่ขี้เกียจหาที่จอดรถและมีเอกสารพร้อม ก็สามารถเลือกใช้บริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) ได้ในเวลาเดียวกัน รวมไปถึงผู้ที่สะดวกก็สามารถเดินทางไปใช้บริการที่ศูนย์บริการร่วมคมนาคมเชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ก็ทำได้เช่นเดียกัน
นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการชำระภาษีรถประจำปีที่ห้างสรรพสินค้าในวันเสาร์-อาทิตย์ ตามโครงการช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax) รวมถึงเครือข่ายต่าง ๆ เช่น เคาเตอร์เซอร์วิส, ที่ทำการไปรษณีย์ และที่ธนาคารอื่น ๆ ที่เปิดให้บริการตามเวลาที่มีการกำหนดเอาไว้แต่ละแห่ง
นอกเหนือไปจากการชำระแบบดั้งเดิม ผู้ใช้บริการยุคใหม่ที่ใช้รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี สามารถดำเนินการผ่านมาตรการชำระภาษีแบบออนไลน์มากมายหลายรูปแบบ ที่เป็นที่นิยมก็คือช่องทางเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/
รวมไปถึงการให้บริการชำระภาษีผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax ซึ่งเป็นช่องทางบริการรูปแบบใหม่เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 นอกจากนี้ ก็มีบริการชำระภาษีรถประจำปีผ่านตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) รวมไปถึงแอพพลิเคชั่น mPAY และ Truemoney Wallet
เผยสถิติต่อภาษีรถยนต์ถึงกันยายน 2563
กรมการขนส่งทางบกได้เปิดเผยสถิติการจัดเก็บภาษีในปีงบประมาณ 2563 (เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) ซึ่งเปิดให้เจ้าของรถสามารถชำระภาษีได้ล่วงหน้า 90 วัน พบว่าสถิติการให้บริการชำระภาษีรถประจำปีในเขตกรุงเทพมหานคร มีผู้ใช้บริการจำนวนทั้งสิ้น 6,009,709 คัน
แบ่งออกเป็นการใช้บริการรับชำระภาษีรถประจำปี ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 มากที่สุด จำนวน 4,513,215 คัน รองลงมาคือการใช้บริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) จำนวน 773,981 คันผ่านเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/ จำนวน 281,739 คัน
การชำระภาษีรถประจำปีที่ห้างสรรพสินค้าในวันเสาร์-อาทิตย์ ตามโครงการช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax) จำนวน 270,058 คัน การเข้าใช้บริการที่ศูนย์บริการร่วมคมนาคมเชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน จำนวน 40,597 คัน ซึ่งทั้งหมดเป็นช่องทางที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก
ในส่วนของบริการชำระภาษีผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax ซึ่งเป็นช่องทางบริการรูปแบบใหม่เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 มีผู้ใช้บริการจำนวน 936 คัน และบริการชำระภาษีรถประจำปีผ่านตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) มีผู้ใช้บริการจำนวน 975 คัน
นอกจากนี้ ยังมีบริการรับชำระภาษีรถประจำปีผ่านหน่วยงานเครือข่ายที่รับชำระค่าบริการ อาทิ เคาน์เตอร์เซอร์วิสมีผู้ใช้บริการจำนวน 111,520 คัน ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 11,231 คัน ผ่านแอปพลิเคชัน mPAY และ Truemoney Wallet จำนวน 5,370 คัน และผ่านธนาคาร จำนวน 87 คัน
รถยนต์ยอดนิยม
4 รุ่นย่อย
7 รุ่นย่อย
5 รุ่นย่อย
9 รุ่นย่อย
9 รุ่นย่อย
9 รุ่นย่อย
3 รุ่นย่อย
2 รุ่นย่อย
10 รุ่นย่อย
10 รุ่นย่อย
2 รุ่นย่อย
10 รุ่นย่อย
4 รุ่นย่อย
4 รุ่นย่อย
5 รุ่นย่อย
3 รุ่นย่อย
2 รุ่นย่อย
2 รุ่นย่อย
10 รุ่นย่อย
1 รุ่นย่อย
6 รุ่นย่อย
1 รุ่นย่อย