window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_breadcrumb_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678150997-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678150997-0'); });

ไฟฉุกเฉินไม่ใช่ไฟขอทาง รวมเรื่องพลาดจากสถานการณ์จริง ที่หลายคนใช้งานผิดมาตลอด

Mr.Argus · Aug 21, 2020 04:20 PM

ไฟฉุกเฉินไม่ใช่ไฟขอทาง รวมเรื่องพลาดจากสถานการณ์จริง ที่หลายคนใช้งานผิดมาตลอด 01

ไฟฉุกเฉิน คือไฟสีเหลืองที่เปิดกระพริบพร้อมกันทั้งสองฝั่งพร้อมกัน ผู้ผลิตรถยนต์มักนำปุ่มสวิตช์ไฟฉุกเฉินนี้ เอาไว้อยู่ออกห่างจากมือ หรืออยู่ในตำแหน่งไกลกว่าสวิตช์ไฟเลี้ยว นั่นแสดงว่าไฟฉุกเฉินเป็นประเภทไฟให้สัญญาณเตือน ที่ไม่ได้ใช้กันบ่อยๆ ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีคนขับรถบางราย ใช้ไฟนี้อยู่ทุกวัน ทั้งที่ชีวิตไม่ได้มีเหตุฉุกเฉินทุกวัน ดังนั้นบทความนี้ รวมสถานการณ์ที่คนมักเปิดไฟฉุกเฉินด้วยความเข้าใจผิด พร้อมแนะนำวิธีที่ถูกต้องดังนี้

ไฟฉุกเฉินไม่ใช่ไฟขอทาง รวมเรื่องพลาดจากสถานการณ์จริง ที่หลายคนใช้งานผิดมาตลอด 02

เปิดไฟฉุกเฉินตอนผ่านสี่แยก

สถานการณ์ที่หลายคนเข้าใจผิดบ่อยๆ คือเปิดไฟฉุกเฉินตอนตรงผ่านสี่แยก ด้วยความเข้าใจผิดว่า การตรงไฟต้องให้สัญญาณทั้งซ้ายและขวาพร้อมกันเป็นการขอทาง แต่จริงๆแล้ว ไฟฉุกเฉินที่มองเห็นฝั่งเดียว คันอื่นจะเข้าใจผิดเป็นไฟเลี้ยว ซึ่งทำให้การตัดสินใจผิดพลาด จากการให้สัญญาณผิดของเราเอง วิธีการตรงผ่านสี่แยกที่ถูกต้องคือ คนขับไม่ต้องเปิดไฟสัญญาณใดๆเลย แค่หยุดมองซ้ายขวาให้โล่ง แล้วก็ขับต่อไปได้เลย

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });

ไฟฉุกเฉินไม่ใช่ไฟขอทาง รวมเรื่องพลาดจากสถานการณ์จริง ที่หลายคนใช้งานผิดมาตลอด 01

เปิดไฟฉุกเฉินตอนถอยหลัง 

เมื่อถอยหลังเข้า หรือออกจากตำแหน่งใดก็ตาม หลายคนที่ทำผิดมักจะเปิดไฟฉุกเฉินไปด้วย เพราะเข้าใจว่าเป็นไฟขอทาง แต่ผลลัพธ์คือ รถตามหลังสับสน เพราะมีทั้งไฟถอยและไฟฉุกเฉิน ถูกใช้ในเวลาเดียวกัน จึงแยกไม่ออกว่า จะถอยหลัง หรือเกิดเหตุฉุกเฉิน ดังนั้นเพื่อลดความสับสนนี้ แค่มีไฟถอยติดสว่างปกติ คนอื่นก็เข้าใจชัดเจนแล้วว่ารถเราถอยหลังอยู่

ไฟฉุกเฉินไม่ใช่ไฟขอทาง รวมเรื่องพลาดจากสถานการณ์จริง ที่หลายคนใช้งานผิดมาตลอด 02

เปิดไฟฉุกเฉินตอนฝนตก

ในตอนฝนตกหนัก จนทัศวิสัยย่ำแย่ ทำให้หลายคนเผลอเปิดไฟฉุกเฉิน ด้วยความเข้าใจผิดว่า ไฟกระพริบจะช่วยให้รถคันอื่นสังเกตเห็นได้ง่าย แต่ความเป็นจริงคือ ถ้าทุกคันเปิดไฟฉุกเฉินตอนฝนตกเหมือนกันหมด รถคันหลังจะโดนไฟกระพริบใส่มากๆจนตาพร่า และถ้ามีรถจอดเสียฉุกเฉินจริงๆ ก็จะแยกไม่ออกว่า รถคันไหนเสีย คันไหนปกติ เพื่อลดความสับสนนี้ ไม่ต้องเปิดไฟฉุกเฉินเมื่อฝนตก แค่เปิดไฟหรี่กับไฟหน้า ก็เพียงพอแล้ว

ไฟฉุกเฉินไม่ใช่ไฟขอทาง รวมเรื่องพลาดจากสถานการณ์จริง ที่หลายคนใช้งานผิดมาตลอด 03

เปิดไฟฉุกเฉินตอนจอดรถชั่วคราว

พวกชอบจอดรถข้างทาง หรือจอดรถชั่วคราว เพื่อซื้อของ เข้าห้องน้ำ หรือรอรับคนอื่น มักหลงใช้ไฟฉุกเฉินเช่นกัน ด้วยความเข้าใจผิดว่า การเปิดแบบนี้แล้ว จะทำให้จอดรถได้ชั่วคราว ทั้งที่จริงแล้ว การจอดรถทำธุระ ไม่ใช่เหตุฉุกเฉิน การใช้ไฟพร่ำเพรื่อแบบนี้ ส่งผลเสียให้รถในเหตุฉุกเฉินจริงๆ ถูกมองว่าเป็นพวกจอดซื้อของเท่านั้น

ไฟฉุกเฉินไม่ใช่ไฟขอทาง รวมเรื่องพลาดจากสถานการณ์จริง ที่หลายคนใช้งานผิดมาตลอด 04

การใช้ไฟฉุกเฉินที่ถูกต้อง 

มีกฎหมายระบุไว้ชัดเจนแล้ว จากพรบ.จราจรมาตรา 9 และกฎกระทรวงข้อ 11 กำหนดไว้ว่าให้ใช้ไฟฉุกเฉิน เมื่อรถเสียจอดอยู่กับที่ หรือเป็นรถเกิดอุบัติเหตุจนไม่สามารถเคลื่อนย้ายรถได้เท่านั้น ส่วนรถพยาบาลกู้ภัย เปิดตอนขับรถอยู่ ก็เพื่อขอทางในเหตุฉุกเฉินเช่นกัน แต่ถ้าหากรถที่วิ่งอยู่ปกติกลับเปิดไฟฉุกเฉินกันหมด หรือเปิดไฟอย่างพร่ำเพรื่อโดยไม่จำเป็น จะทำให้แยกแยะไม่ออกว่า รถคันใดฉุกเฉินจำเป็นจริงๆ หรือเปิดตามใจฉันกันแน่ 

ไฟฉุกเฉินไม่ใช่ไฟขอทาง รวมเรื่องพลาดจากสถานการณ์จริง ที่หลายคนใช้งานผิดมาตลอด 05

นอกจากการเปิดไฟฉุกเฉินด้วยตัวเองแล้ว รถยนต์สมัยใหม่หลายรุ่น ก็ยังมีระบบเปิดไฟฉุกเฉินอัตโนมัติ เมื่อมีการเบรคกะทันหันอย่างรุนแรง และอีกกรณีคือการเปิดไฟฉุกเฉิน เพราะระบบกันขโมยตรวจจับได้ว่ามีความพยายามขโมยรถเกิดขึ้น ซึ่งทั้งสองกรณีนี้คือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่สมควรเปิดไฟฉุกเฉินนี้เช่นกัน ดังนั้นในคราวหลัง ก่อนจะเอื้อมมือไปกดปุ่มนี้ ให้จำง่ายๆเอาไว้ว่า ไฟชนิดนี้ มีไว้ใช้เปิดตอนมีเหตุฉุกเฉินสมชื่อเท่านั้น

Mr.Argus

นักเขียน

คุณกัส ผู้จำชื่อรถได้หมดตั้งแต่เด็ก ขับรถเป็นตั้งแต่มัธยม ซ่อมรถใช้เองตอนปริญญาตรี สะสมรถคลาสสิคและรถหายาก ทำงานเรื่องรถมานาน 5 ปี ผ่านการอบรมขับขี่ปลอดภัยจาก Sach มีรถทดสอบผ่านมือมาตั้งแต่รถกระบะ รถเก๋ง จนถึงรถสปอร์ต งานอดิเรกก็แค่ซ่อมรถสะสมที่มีอยู่ ติดตามชีวิตคนบ้ารถได้ที่กลุ่ม https://www.facebook.com/groups/97434297973776

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });
window._taboola = window._taboola || []; _taboola.push({ mode: 'thumbnails-a-2x2-stream', container: 'taboola-below-article-thumbnails', placement: 'Below Article Thumbnails', target_type: 'mix' });

ขายรถเก่า-ซื้อคันใหม่ ไม่ยุ่งยาก ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝง

Toyota Yaris Ativ 1.2 Sport CVT 2022

แลก

เพิ่มรถของคุณ

ไม่อยากรอแลกรถ?   ขายรถ