'รถแลกแจกแถม' โครงการประชานิยมแห่งสังคมนิยมแฟชั่นแห่งการใช้รถ

ภายในสัปดาห์นี้ คาดว่ารัฐบาลจะมีการพิจารณาโครงการ 'รถแลกแจกแถม' ที่ฮือฮากันในหมู่ผู้ซื้อรถในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้จะยังไม่มีความชัดเจนใดใดออกมาจากภาครัฐบาลว่าเนื้อหาการสนับสนุนการใช้งานนั้นจะออกมาในรูปแบบใด และจะมีผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้จำนวนเท่าใด

ถามว่าทำไมถึงฮือฮา ทั้งที่รูปแบบนั้นก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากโครงการประชานิยมรูปแบบอื่น ๆ ที่ให้กันมาเป็นระยะ และหากมองย้อนกลับไปก็ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างในสาระกับตอนที่พวกเขาเปิดโครงการอื่น ๆ อย่างรถยนต์คันแรก ซึ่งส่งปัญหาตามมามากมายจนถึงปัจจุบันนี้

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ในปีนี้เกิดอาการซบเซามาพักใหญ่ ๆ จากผลกระทบของโควิด-19 และเศรษฐกิจในภาพรวม ทำให้มีการชะลอการซื้อรถยนต์ใหม่กันมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีโครงการใหม่ ๆ ของภาครัฐที่จะเข้ามาช่วยเหลือผู้บริโภคก็ย่อมฮือฮากันเป็นธรรมดา

นอกจากนี้ การที่เงื่อนไขของรัฐบาลเองมุ่งมั่นไปที่การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้รถของผู้บริโภค โดยบังคับให้การเข้าร่วมโครงการนี้ จะต้องเป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ารูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไฮบริด ไฮบริดแบบเสียบปลั๊ก หรือแม้แต่ไฟฟ้า 100% ก็ทำให้ยิ่งน่าสนใจมากขึ้นในเนื้อหา

ทั้งที่เอาจริง ๆ แล้ว โดยส่วนตัวผมกลับมองว่างานนี้ดูแล้วไม่ค่อยน่าจะประสบความสำเร็จในแง่ของการกระตุ้นการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากนัก ถ้ารัฐบาลเองไม่มองภาพรวมทั้งระบบ และหันไปเร่งเครื่องพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานให้เรียบร้อยก่อน ก็จะเป็นการเสียโอกาสจัดเก็บภาษีไปฟรี ๆ

เงื่อนไขเพื่อการครอบครอง 'รถแลกแจกแถม'

แน่นอนว่ายังไม่มีการกำหนดอะไรที่ชัดเจนออกมาในเงื่อนไขนี้ แต่ฟังแล้วเงื่อนไขก็จะคล้าย ๆ กับที่กระทรวงอุตสาหกรรมเคยคิดเอาไว้นานมาแล้ว ด้วยแนวทางเดียวกันคือการกำจัดรถยนต์เก่า ที่ก่อมลพิษออกจากท้องถนน จากนั้นก็แทนที่เข้าไปด้วยรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า

และเพิ่มแรงจูงใจให้กับผู้บริโภคด้วยมาตรการทางด้านการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการหาส่วนลดสำหรับการซื้อลดใหม่ การหางบประมาณอุดหนุนการทำลายซากรถยนต์เก่า และแน่นอนว่าจะต้องกลับมาที่มาตรการด้านภาษีที่นำค่าใช้จ่ายไปลดภาษีได้อีก โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องทำอะไรขนาดนี้เสียด้วยซ้ำ

ถ้าไม่มองว่าเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้บริโภคที่อาจจะไม่มีความจำเป็นต้องซื้อรถใหม่ หรืออาจจะไม่มีความสามารถในการชำระค่าตัวของรถยนต์กลุ่มนั้นซึ่งมีราคาแพงกว่ารถยนต์ปกติ แม้รัฐบาลจะกำหนดจำนวนเบื้องต้นเอาไว้ที่ 1 แสนคัน ก็ไม่อยากคิดว่าจะมีหนี้เสียและรถยึดเพิ่มขึ้นขนาดไหน

ย้อนกลับไปตอนโครงการรถยนต์คันแรก แน่นอนว่าโครงการที่เหมือนจะดูดีด้วยการคืนภาษีสำหรับผู้ซื้อรถคันแรก จบลงด้วยการยึดรถครั้งใหญ่จากการผลักดันให้ผู้ที่ไม่มีความพร้อมออกมาซื้อรถ แถมยังส่งผลกระทบต่อราคาจำหน่ายมือสองของรถยนต์หลายรุ่น เรียกว่าแผลยังจาง ๆ เจ็บแปลบ ๆ อยู่

คำถามที่ต้องถามก็คือ ณ ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีความพร้อมของโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่พร้อมสำหรับการใช้งานรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดและรถไฟฟ้าแล้วหรือไม่ ถ้าไม่พร้อม การสนับสนุนของภาครัฐที่อยากเห็นการประหยัดเชื้อเพลิงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นจะสูญเปล่าหรือไม่

ลดภาษีให้แต่ตอนจบผู้ใช้รถใช้เครื่องยนต์เหมือนเดิม

อย่าว่าแต่การเข้าโครงการรถแลกแถมเลย เอาแค่รถยนต์ที่ขายกันอยู่ในตอนนี้ ที่มีระบบไฮบริด ปลั๊กอินไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้ากันเกือบทุกค่าย ถามว่าผู้บริโภคที่ใช้งานกันอยู่ เข้าใจถึงการทำงานของรถตัวเอง และมีการใช้งานรถได้เต็มประสิทธิภาพอย่างที่รถแต่คันควรจะเป็นหรือไม่

ถ้าถามเจ้าของรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดว่ามีการเสียบปลั๊กชาร์จไฟให้กับรถของตัวเองหรือเปล่า เชื่อว่าหลาย ๆ คนก็ยังคงตอบว่าไม่อยู่ เพราะไม่เห็นความจำเป็นของการใช้ระบบไฟฟ้าในรถเลย ก็ยังวิ่งด้วยเครื่องยนต์ได้นี่หน่า แล้วจะไปเสียบไฟให้ยุ่งยากทำไม มันจำเป็นด้วยหรอ

กลับมามองที่ระบบการชาร์จไฟสาธารณะทั้งจากภาครัฐและเอกชนกันบ้าง บอกเลยว่ายังไงก็ไม่มีความพร้อมในการสนับสนุนให้ผู้บริโภคได้ใช้งานรถยนต์เหล่านี้แบบเต็มรูปแบบ เรียกประชาชนให้มาใช้งานแต่ว่าตอนจบ ทุกคนต่างก็ใช้รถกันแบบเดิม การลดการจัดเก็บภาษีก็ไม่เกิดประโยชน์

ก็พอจะเข้าใจได้ว่าโครงการของรัฐบาลในเรื่องการสนับสนุนให้เกิดการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยความต้องการผลักดันยอดการผลิต 30% ของประเทศไทยเป็นกลุ่มรถยนต์พลังงานไฟฟ้า จะต้องทำสอดคล้องกันไปในเรื่องของการส่งเสริมการผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

แต่ถ้าต้องเลือกใช้โครงสร้างภาษีหรือการขอส่วนลดอัตราพิเศษจากค่ายรถ รวมถึงการนำโครงการที่ยังไม่เห็นรูปธรรมอย่างโครงการกำจัดซากรถเก่ามาใช้เป็นเงื่อนไขในการสนับสนุนการใช้งาน โดยที่ไม่มีนโยบายสนับสนุนที่เป็นรูปธรรม ดูยังไงก็เป็นโครงการที่ไม่สอดรับกันเท่าที่ควร

GolF ก็ว่า... ปรับโครงสร้างพื้นฐานหนุนการใช้งานอย่างยั่งยืน

โครงการประชานิยมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในอดีตนั้น แม้จะผ่านการคิดค้นมาจากหน่วยงานใดก็ตาม ส่วนใหญ่นั้นมักจะเป็นโครงการระยะสั้น ที่ก่อปัญหาในระยะยาวในแง่ของการบริหารจัดการแทบจะทั้งสิ้น แม้จะมีแนวความคิดที่มาที่ดีขนาดไหนก็ตามในเชิงนโยบาย

รถแลกแจกแถม คือโครงการต่อยอดของการผลักดันให้เกิดการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ที่สอดคล้องกับความต้องการในการกำจัดรถยนต์เก่าที่มีอายุการใช้งานมาอย่างยาวนาน ไม่ส่งผลดีต่อทั้งการใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพและการกำจัดมลพิษทางอากาศจากการใช้รถ

เพียงแค่ยังรู้สึกแปลก ๆ ที่หากผู้เข้าร่วมโครงการ 1 แสนรายตามที่รัฐบาลต้องการในโครงการนี้ เลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าด้วยการถูกชักจูงผ่านมาตรการทางภาษี โดยไม่ได้มองถึงความเหมาะสมในการใช้งานว่าจริง ๆ แล้ว พวกเขานั้นพร้อมที่จะดูแลรักษารถคันนี้ไปได้หรือไม่

ถ้าซื้อปลั๊กอินไฮบริดแต่ไม่เคยเสียบปลั๊กชาร์จไฟ หรือการใช้รถยนต์ไฮบริดโดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลระยะยาว ยิ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่หลาย ๆ คนยังไม่รู้จักกับมันดีเสียด้วยซ้ำ ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาจุกจิกในการใช้งานรถยนต์ใหม่ได้ในระยะยาวแน่นอน

ผมก็สนับสนุนให้ทุกคนใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้านะครับ แต่อยากเห็นการเติบโตแบบยั่งยืน รัฐบาลขยายโครงข่ายสถานีชาร์จให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ผู้ประกอบการทำความเข้าใจกับประชาชนให้มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ชัดเจน ถ้าทุกฝ่ายเห็นตรงกัน ตลาดก็จะเติบโตไปแบบที่ควรจะเป็น

ไม่ใช่ใส่ปุ๋ยทางการเงินเร่งโตแบบนี้ เห็นพังมากี่โครงการแล้วล่ะ ไม่จำกันบ้างเลย...

 

    Channel:
ติดตามพวกเราได้ที่:
Pisan

หัวหน้าทีมบรรณาธิการ

Head of Content ของ AutoFun Thailand ผู้ใช้ชีวิตกับรถมาตั้งแต่สมัยใส่ขาสั้นไปโรงเรียน ทุกวันนี้รถติดบนถนนมากกว่าวันละ 2-3 ชั่...

ซื้อรถถูกกว่า ขายรถเร็วขึ้น

ผู้ใช้ แลกรถในฝันแล้ว
เพิ่มรถของคุณ

แลก

BMW I8

ขายรถมือสอง

ตรวจสภาพรถ 175 จุด

รับประกันคืนเงินภายใน 30 วัน

การรับประกัน 1 ปี

ราคาคงที่ ไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง

ดูเพิ่มเติม

วีดีโอสั้นที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

Mitsubishi ลงทุนผลิตเครื่อง 4N16 Hyper Power ใหม่ ให้ใช้งานได้เกิน 400,000 กม.ขึ้นไป

การผลิตเครื่องยนต์ใหม่ 2.4 ลิตร ไฮเปอร์ พาวเวอร์ รุ่นใหม่ ถึงขั้นต้องปรับปรุงโรงงานขนานใหญ่ ให้เป็นไปตามมาตรฐานญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้การประกอบเครื่องยนต์มีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด พร้อมเผยเคล็ดลับความทนทานของเครื่อง 4n16 ใหม่ในรถ 2023 Mitsubishi Triton (มิตซูบิชิ ไทรทัน) โฉมล่าสุด เปลี่ยนสายพานการผลิตเครื่องยนต์ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ยกระดับสายการผลิตให้ all-new Triton ต้อนรับการมาของรถรุ่นใหม่ และเครื่องยนต์ใหม่ 2.4 ลิตร ไฮเปอร์ พาวเวอร์ โดยใช้หุ่นยนต์อันทันสมัยมากกว่า 250 ตัว ทำหน้าที่ในการ

Mercedes-Benz เตรียมใช้แบตเตอรี่ Blade ของ BYD ในรถอีวี

Mercedes-Benz (เมอร์เซเดส-เบนซ์) ตกเป็นข่าวว่าเตรียมหยิบยืมเทคโนโลยี Blade Battery ของ BYD มาใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าของตนเอง สำนักข่าว CBEA ของจีนรายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงในว่า รถยนต์รุ่นแรกของ Mercedes-Benz ที่จะใช้แบตเตอรี่ของ BYD คือ All-New CLA รุ่นใหม่ที่สร้างบนแพลตฟอร์ม 800V MMA แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเป็นเวอร์ชั่นที่จำหน่ายในจีนเท่านั้นหรือในต่างประเทศด้วย ข่าวดังกล่าวแพร่สะพัดตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา สำนักข่าว CBEA รายงานด้วยว่าค่ายรถยักษ์เยอรมันจะเริ่มต้นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ใ

ส่อง MG ZS 7 คัน มือสองดาวน์น้อย ผ่อนสบาย จากทาง CARSOME

วันนี้ เราเอาใจคนรักครอบครัวที่กำลังหาซื้อรถมือสอง ด้วย MG ZS มือสอง คุณภาพเยี่ยมถึง 7 คันพร้อมโปรโมชันสุดปังอย่าง CARSOME Easy Sale ดาวน์น้อย ผ่อนง่าย จ่ายไหว ที่ให้ทุกคนผ่อนรถมือสองได้ง่ายๆ เริ่มต้นเพียง 4,xxx บาทต่อเดือน แถมยังมียอดดาวน์น้อย จ่ายได้สบายกระเป๋า แถมมีสิทธิ์เป็นผู้โชคดี ได้เงินคืนรวม 5 แสนบาท*** พร้อมความคุ้มค่าแบบจุกๆ อีกเพียบ ที่สำคัญ ยังมั่นใจได้ว่า รถมือสองทุกคันจาก แพลตฟอร์มซื้อ-ขายรถยนต์มือสองออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง CARSOME ยัง ผ่านการตรวจเช็กอย่

Honda ยืนยันร่วมใช้เทคโนโลยีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla

Honda (ฮอนด้า) เป็นบริษัทรถยนต์รายล่าสุดต่อจาก Ford และ General Motors ที่จะใช้เทคโนโลยีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla สำนักข่าว Asahi ของประเทศญี่ปุ่นรายงานว่า Honda ประกาศยืนยันอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะใช้พอร์ทชาร์จไฟเร็วของ Tesla ในรถยนต์ไฟฟ้าที่จะออกจำหน่ายในภูมิภาคอเมริกาเหนือตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป ก่อนหน้านี้ Ford และ General Motors ประกาศนโยบายคล้ายคลึงกันหลังบรรลุข้อตกลงกับ Tesla ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ขณะที่ Rivian อีกหนึ่งบริษัทรถยนต์สัญชาติอเมริกันก็จะเดินตามรอยด้วยเช่นกัน นักวิเคราะห์เ

วิศวกร Honda พัฒนาระบบป้องกันเมาหัวในรถยนต์ไฟฟ้าที่มีอัตราเร่งทันใจ

ทีมงานฝ่ายวิศวกรรมของ Honda (ฮอนด้า) พัฒนาระบบควบคุมอัตราเร่งในรถยนต์ไฟฟ้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการเวียนหัวหรือเมารถ เป็นที่ทราบกันดีว่าอัตราเร่งของรถยนต์ไฟฟ้าที่มีแรงบิดให้ใช้แบบทันทีทันใดนั้นตอบสนองต่อเท้าขวาของผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดี แต่อาจจะไม่ถูกใจผู้โดยสารที่นั่งอยู่บนเบาะหน้าข้างคนขับหรือเบาะหลังเท่าใดนัก ธรรมชาติของรถยนต์ไฟฟ้านั้นทำงานด้วยความเงียบสงบ ราบรื่น ปราศจากเสียงเครื่องยนต์รบกวน แต่อัตราเร่งที่เกิดขึ้นแบบกระทันหันอาจส่งผลต่อประสาทรับรู้การเคลื่อนไหวของหูชั้นในที่ทำงานไม่ประส

รถแนะนำสำหรับคุณ

ยอดนิยมล่าสุดอัพเดท
ฮิต
MG

MG ZS

THB 689,000 - 799,000

ชมรุ่นรถ
MG

MG Maxus 9

THB 2,499,000 - 2,699,000

ชมรุ่นรถ
MG

MG ES

THB 959,000

ชมรุ่นรถ
Honda

Honda WR-V

THB 799,000 - 869,000

ชมรุ่นรถ
รุ่นใหม่
BMW

BMW X7

THB 5,999,000 - 8,959,000

ชมรุ่นรถ
BMW

BMW XM

THB 14,899,000

ชมรุ่นรถ
GAC

GAC Aion Y Plus

THB 1,069,900 - 1,299,900

ชมรุ่นรถ
Toyota

Toyota Vellfire

THB 4,129,000

ชมรุ่นรถ
Subaru

Subaru Levorg

THB 1,890,000

ชมรุ่นรถ
Mercedes-Benz

Mercedes-Benz Sprinter

THB 3,790,000

ชมรุ่นรถ