เผยเบื้องหลัง “ศพมนุษย์” ถูกใช้ทดสอบการชนบนเส้นขอบจริยธรรม

นวัตกรรมความปลอดภัยในรถยนต์มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับ “รูปแบบและขั้นตอนการพัฒนา” ที่มีวิวัฒนาการอย่างน่าสนใจเช่นเดียวกัน

บริษัทรถยนต์ทุกรายในท้องตลาดมักนำเสนอผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบความปลอดภัยหรือรายงานเรตติ้งผลการทดสอบการชนตั้งแต่ 1 - 5 ดาว เพื่อแสดงให้เห็นว่ารถยนต์ที่พวกเขาสร้างขึ้นนั้นมีความปลอดภัยต่อผู้ขับขี่และผู้โดยสารมากเพียงใด แต่ไม่มีบริษัทรถยนต์รายใดที่ต้องการ "ลงลึก" หรือ "ย้อนความ" ถึงขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาจากอดีตถึงปัจจุบัน

หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า ก่อนที่หุ่นดัมมี่ทดสอบการชนในรถยนต์จะถูกคิดค้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 หากย้อนกลับไปไกลกว่านั้น บริษัทรถยนต์หลายรายพึ่งพาผลวิจัยจาก “ศพมนุษย์” และ “สัตว์” ที่ถูกใช้ทดสอบการชนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ของตนเอง

ทำไมต้องทดสอบกับศพมนุษย์?

การพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นดัมมี่ทดสอบการชนที่ถูกใช้มาจนถึงปัจจุบันมีที่มาจากการทดสอบกับศพมนุษย์ในยุคที่ศาสตร์แขนงชีวกลศาสตร์ (biomechanics) ได้รับความนิยมเพื่อเก็บข้อมูลที่เชื่อถือได้จากร่างกายมนุษย์

การใช้ศพมนุษย์เพื่อทดสอบความปลอดภัยในยานพาหนะเริ่มต้นตั้งแต่ยุค 1930 เมื่อนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเวนย์ สเตทในเมืองดีทรอยท์ของสหรัฐอเมริกา ทำการโยนศพมนุษย์ลงในช่องลิฟท์ เพื่อทดสอบความแข็งแรงของกระโหลกศีรษะมนุษย์

ลอว์เรนซ์ แพทริค หัวหน้าทีมนักวิจัยในขณะนั้นของมหาวิทยาลัยเวนย์ สเตท พบว่ากระโหลกศีรษะมนุษย์สามารถทนแรงกดกระแทกได้สูงถึง 1 ตันครึ่งในช่วงเวลา 1 วินาที  นอกจากนี้ยังมีการทดสอบด้วยการใช้ของมีคมเสียบหน้าอก การอัดกระแทกที่หัวเข่าหรือกระดูกสันหลังเพื่อหาผลลัพธ์ว่ามนุษย์ทนทานต่อแรงกระทำมากน้อยเพียงใด เมื่อได้รับข้อมูลแล้วก็สามารถนำไปต่อยอดสู่การพัฒนาระบบป้องกันในรถยนต์

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ศพมนุษย์ถูกใช้ทดสอบความปลอดภัยในยานพาหนะมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันที่ยังพบเห็นได้ในสหรัฐอเมริกา ดำเนินการโดยทีมนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้า ถึงแม้จะมีการพัฒนาหุ่นดัมมี่ทดสอบการชนแล้วก็ตาม เนื่องจากศพมนุษย์ให้ข้อมูลที่แม่นยำกว่าในบางกรณี

เพราะว่าบริษัทรถยนต์ไม่ต้องการมีส่วนร่วมโดยตรงกับการทดสอบที่ฟังดูหมิ่นเหม่ต่อจริยธรรมในอุตสาหกรรมยานยนต์ยุคใหม่ การวิจัยกับศพมนุษย์ของสถาบันการศึกษาจึงได้รับเงินทุนจากหน่วยงานรัฐบาลแทน อย่างสถาบันความปลอดภัยบนถนนหลวงหรือ NHTSA และสถาบันประกันความปลอดภัยบนถนนหลวงหรือ IIHS ของสหรัฐ

แต่กระนั้น มีรายงานว่าบริษัทรถยนต์หลายรายใช้ข้อมูลอ้างอิงจากการวิจัยความปลอดภัยในรถยนต์ด้วยการใช้ศพมนุษย์ นำไปสู่หนึ่งในนวัตกรรมที่ถูกใช้งานในรถโปรดักชั่นอย่างเข็มขัดนิรภัยที่มีระบบพองตัวซึ่งติดตั้งครั้งแรกในโลกใน Ford Explorer ซึ่งใช้ข้อมูลบางส่วนจากการวิจัยและทดสอบการชนด้วยศพมนุษย์ของสถาบันการศึกษาในสหรัฐ 

ถุงลมนิรภัยแบบพองตัวได้ในรถยนต์ Ford

นักวิจัยของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ มีมาตรฐานในการใช้ศพมนุษย์เพื่องานวิจัยความปลอดภัยยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการปกปิดชื่อของผู้เสียชีวิตที่บริจาคร่างกายไว้เป็นความลับ ไม่มีการบอกญาติของผู้เสียชีวิตว่าจะทำการทดสอบเมื่อไหร่ และทดสอบอะไร 

และเมื่อทำการทดสอบ นักวิจัยจะทำการห่อหุ้มศพไว้ทั้งร่างตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้าเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้เสียชีวิต ส่วนใหญ่แล้ว ศพจะถูกนำไปนั่งอยู่บนเบาะของเครื่องจำลองการเคลื่อนที่ซึ่งเลียนแบบห้องโดยสารในรถยนต์ก่อนพุ่งเข้าชนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ หรืออาจใช้วิธีเหวี่ยงวัตถุที่มีน้ำหนักมากเข้าใส่ร่างของศพ

ศพที่ถูกนำมาทดสอบนั้นจะถูกเพิ่มแรงดันเข้าสู่ปอดและเส้นเลือด ส่วนในกระโหลกศีรษะจะใช้เจลาตินแทนสมองเพื่อจำลองร่างกายมนุษย์ขณะยังมีชีวิต  ขณะที่ทุกชิ้นส่วนทั้งแขน ขา ลำตัว และหน้าอกมีการติดตั้งเซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับแรงกระแทก  

ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของศพจะถูกตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ชันสูตร วิศวกร นักฟิสิกส์ และนักวิจัยหลังจากผ่านการทดสอบการกระแทกหรือชนปะทะในแต่ละครั้งเพื่อตรวจสอบความเสียหายของร่างกาย

เป้าหมายหลักของการใช้ศพมนุษย์ก็คือการทดสอบความแข็งแกร่งของกระดูกและเส้นเลือดในร่างกายว่าจะได้รับความเสียหายเพียงใดเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยเฉพาะกระดูกซี่โครง กระโหลกศีรษะ และกระดูกสันหลัง

มหาวิทยาลัยมิชิแกนซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ทดสอบด้วยการใช้ศพมนุษย์ พบผลลัพธ์ที่น่าสนใจว่าคนที่มีร่างกายอ้วนนั้นมีความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บแขนหรือขามากกว่าลำตัวเมื่อเทียบกับคนที่มีร่างกายผอม เนื่องจากชั้นไขมันบริเวณลำตัวทำหน้าที่เหมือนเป็น “ส่วนดูดซับแรงปะทะ” ช่วยป้องกันการบาดเจ็บภายในได้

มีรายงานด้วยว่าข้อมูลที่ได้จากการวิจัยกับศพนำมาซึ่งการพัฒนาเข็มขัดนิรภัยที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงเทคโนโลยีพวงมาลัยแบบยุบตัวได้เมื่อเกิดการชน

จุดเด่นและจุดด้อยของการใช้ศพมนุษย์

มหาวิทยาลัยเวนย์ สเตท เคยตีพิมพ์ผลวิจัยในปี 1995 ระบุว่า การทดสอบการชนและการวิจัยความปลอดภัยในยานยนต์ด้วยการใช้ศพมนุษย์สามารถลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนได้ถึง 8,500 ครั้งต่อปี ที่ผ่านมา มีการใช้ศพเด็กในการทดสอบอีกด้วย ซึ่งต่อมา Ford ได้พัฒนาหุ่นดัมมี่เด็กสำหรับทดสอบการชนขึ้นมาโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากประเด็นด้านจริยธรรม การใช้ศพมนุษย์ทดสอบความปลอดภัยในยานพาหนะนั้นมีจุดด้อยเช่นกัน เนื่องจากศพมนุษย์แต่ละรายนั้นมีรูปร่างแตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลที่มีมาตรฐานสมบูรณ์ได้ และแต่ละศพก็จะถูกใช้ได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น  

ขณะเดียวกัน ศพมนุษย์ที่ถูกบริจาคมาเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้นมักเป็นผู้เสียชีวิตที่มีอายุมากจึงมีร่างกายและกระดูกเปราะบาง โดย NHTSA ระบุว่าอายุเฉลี่ยของศพที่ถูกใช้ทดสอบนั้นอยู่ที่ 72 ปี ส่วนศพที่อายุน้อยนั้นมักเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์และสภาพศพมักไม่เหมาะสมสำหรับการวิจัย

นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้การทดสอบความปลอดภัยด้วยการใช้ศพมนุษย์ลดจำนวนลงจากหลายสิบครั้งต่อปีในช่วงทศวรรษ 1990 เหลือเพียง 2 ครั้งต่อปีในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา

    Channel:
ติดตามพวกเราได้ที่:
May

นักเขียนอาวุโส

อดีตนักข่าว เอเจนซี่ และฟรีแลนซ์ฝีมือเยี่ยม ที่นำประสบการณ์ร่วม 20 ปีมาถ่ายทอดคอนเทนท์และประเด็นข่าวในวงการยานยนต์ทั้งไทยและเ...

ซื้อรถถูกกว่า ขายรถเร็วขึ้น

ผู้ใช้ แลกรถในฝันแล้ว
เพิ่มรถของคุณ

แลก

Honda Jazz

ขายรถมือสอง

ตรวจสภาพรถ 175 จุด

รับประกันคืนเงินภายใน 30 วัน

การรับประกัน 1 ปี

ราคาคงที่ ไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง

ดูเพิ่มเติม

วีดีโอสั้นที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

Mitsubishi ลงทุนผลิตเครื่อง 4N16 Hyper Power ใหม่ ให้ใช้งานได้เกิน 400,000 กม.ขึ้นไป

การผลิตเครื่องยนต์ใหม่ 2.4 ลิตร ไฮเปอร์ พาวเวอร์ รุ่นใหม่ ถึงขั้นต้องปรับปรุงโรงงานขนานใหญ่ ให้เป็นไปตามมาตรฐานญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้การประกอบเครื่องยนต์มีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด พร้อมเผยเคล็ดลับความทนทานของเครื่อง 4n16 ใหม่ในรถ 2023 Mitsubishi Triton (มิตซูบิชิ ไทรทัน) โฉมล่าสุด เปลี่ยนสายพานการผลิตเครื่องยนต์ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ยกระดับสายการผลิตให้ all-new Triton ต้อนรับการมาของรถรุ่นใหม่ และเครื่องยนต์ใหม่ 2.4 ลิตร ไฮเปอร์ พาวเวอร์ โดยใช้หุ่นยนต์อันทันสมัยมากกว่า 250 ตัว ทำหน้าที่ในการ

Mercedes-Benz เตรียมใช้แบตเตอรี่ Blade ของ BYD ในรถอีวี

Mercedes-Benz (เมอร์เซเดส-เบนซ์) ตกเป็นข่าวว่าเตรียมหยิบยืมเทคโนโลยี Blade Battery ของ BYD มาใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าของตนเอง สำนักข่าว CBEA ของจีนรายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงในว่า รถยนต์รุ่นแรกของ Mercedes-Benz ที่จะใช้แบตเตอรี่ของ BYD คือ All-New CLA รุ่นใหม่ที่สร้างบนแพลตฟอร์ม 800V MMA แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเป็นเวอร์ชั่นที่จำหน่ายในจีนเท่านั้นหรือในต่างประเทศด้วย ข่าวดังกล่าวแพร่สะพัดตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา สำนักข่าว CBEA รายงานด้วยว่าค่ายรถยักษ์เยอรมันจะเริ่มต้นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ใ

ส่อง MG ZS 7 คัน มือสองดาวน์น้อย ผ่อนสบาย จากทาง CARSOME

วันนี้ เราเอาใจคนรักครอบครัวที่กำลังหาซื้อรถมือสอง ด้วย MG ZS มือสอง คุณภาพเยี่ยมถึง 7 คันพร้อมโปรโมชันสุดปังอย่าง CARSOME Easy Sale ดาวน์น้อย ผ่อนง่าย จ่ายไหว ที่ให้ทุกคนผ่อนรถมือสองได้ง่ายๆ เริ่มต้นเพียง 4,xxx บาทต่อเดือน แถมยังมียอดดาวน์น้อย จ่ายได้สบายกระเป๋า แถมมีสิทธิ์เป็นผู้โชคดี ได้เงินคืนรวม 5 แสนบาท*** พร้อมความคุ้มค่าแบบจุกๆ อีกเพียบ ที่สำคัญ ยังมั่นใจได้ว่า รถมือสองทุกคันจาก แพลตฟอร์มซื้อ-ขายรถยนต์มือสองออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง CARSOME ยัง ผ่านการตรวจเช็กอย่

Honda ยืนยันร่วมใช้เทคโนโลยีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla

Honda (ฮอนด้า) เป็นบริษัทรถยนต์รายล่าสุดต่อจาก Ford และ General Motors ที่จะใช้เทคโนโลยีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla สำนักข่าว Asahi ของประเทศญี่ปุ่นรายงานว่า Honda ประกาศยืนยันอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะใช้พอร์ทชาร์จไฟเร็วของ Tesla ในรถยนต์ไฟฟ้าที่จะออกจำหน่ายในภูมิภาคอเมริกาเหนือตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป ก่อนหน้านี้ Ford และ General Motors ประกาศนโยบายคล้ายคลึงกันหลังบรรลุข้อตกลงกับ Tesla ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ขณะที่ Rivian อีกหนึ่งบริษัทรถยนต์สัญชาติอเมริกันก็จะเดินตามรอยด้วยเช่นกัน นักวิเคราะห์เ

วิศวกร Honda พัฒนาระบบป้องกันเมาหัวในรถยนต์ไฟฟ้าที่มีอัตราเร่งทันใจ

ทีมงานฝ่ายวิศวกรรมของ Honda (ฮอนด้า) พัฒนาระบบควบคุมอัตราเร่งในรถยนต์ไฟฟ้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการเวียนหัวหรือเมารถ เป็นที่ทราบกันดีว่าอัตราเร่งของรถยนต์ไฟฟ้าที่มีแรงบิดให้ใช้แบบทันทีทันใดนั้นตอบสนองต่อเท้าขวาของผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดี แต่อาจจะไม่ถูกใจผู้โดยสารที่นั่งอยู่บนเบาะหน้าข้างคนขับหรือเบาะหลังเท่าใดนัก ธรรมชาติของรถยนต์ไฟฟ้านั้นทำงานด้วยความเงียบสงบ ราบรื่น ปราศจากเสียงเครื่องยนต์รบกวน แต่อัตราเร่งที่เกิดขึ้นแบบกระทันหันอาจส่งผลต่อประสาทรับรู้การเคลื่อนไหวของหูชั้นในที่ทำงานไม่ประส

รถแนะนำสำหรับคุณ

ยอดนิยมล่าสุดอัพเดท
ฮิต
MG

MG ZS

THB 689,000 - 799,000

ชมรุ่นรถ
MG

MG Maxus 9

THB 2,499,000 - 2,699,000

ชมรุ่นรถ
MG

MG ES

THB 959,000

ชมรุ่นรถ
Honda

Honda WR-V

THB 799,000 - 869,000

ชมรุ่นรถ
รุ่นใหม่
BMW

BMW X7

THB 5,999,000 - 8,959,000

ชมรุ่นรถ
BMW

BMW XM

THB 14,899,000

ชมรุ่นรถ
GAC

GAC Aion Y Plus

THB 1,069,900 - 1,299,900

ชมรุ่นรถ
Toyota

Toyota Vellfire

THB 4,129,000

ชมรุ่นรถ
Subaru

Subaru Levorg

THB 1,890,000

ชมรุ่นรถ
Mercedes-Benz

Mercedes-Benz Sprinter

THB 3,790,000

ชมรุ่นรถ