window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_breadcrumb_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678150997-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678150997-0'); });

นอร์เวย์ผงาดชาติแรกยอดขายรถพลังไฟฟ้าแซงรถเครื่องยนต์สันดาป – แล้วเมืองไทยล่ะ?

May · Jan 9, 2021 10:13 AM

นอร์เวย์ผงาดชาติแรกยอดขายรถพลังไฟฟ้าแซงรถเครื่องยนต์สันดาป – แล้วเมืองไทยล่ะ? 01

นอร์เวย์กลายเป็นประเทศแรกในโลกที่มียอดขายสะสมของรถพลังงานไฟฟ้าสูงกว่ารถเครื่องยนต์เบนซิน ดีเซล และไฮบริด ในปี 2020 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป

ยอดขายรถยนต์ทั้งหมดของประเทศนอร์เวย์ในปี 2020 อยู่ที่ 141,412 คัน แบ่งเป็นรถพลังงานไฟฟ้าล้วน ๆ อยู่ที่ 76,789 คันหรือคิดเป็น 54.3% ของยอดขายทั้งหมด และถ้ารวมรถไฮบริดและปลั๊กอินไฮบริดเข้าไปด้วย ตัวเลขยอดขายรถที่ใช้ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าในนอร์เวย์จะมีสัดส่วนถึง 83% ของยอดขายทั้งหมดในปีที่ผ่านมาเลยทีเดียว

ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากปี 2019 ซึ่งยอดขายรถพลังงานไฟฟ้าในชาติสแกนดิเนเวียนแห่งนี้มีสัดส่วนเพียง 42% และยิ่งถ้าเทียบกับเมื่อปี 2009 จะพบว่ารถพลังไฟฟ้ามีสัดส่วนยอดขายเพียง 1% เท่านั้น

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_fourthp_under_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678191139-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678191139-0'); });

สมาคมยานยนต์แห่งนอร์เวย์ (OFV) ระบุว่ารถพลังไฟฟ้าที่มียอดขายสูงที่สุดในปี 2020 คือ Audi e-tron (ออดี้ อี-ทรอน) ทำได้ที่ 9,227 คันแซงหน้าแชมป์เก่าอย่าง Tesla Model 3 (เทสล่า โมเดล 3) ซึ่งทำยอดขายได้ 7,770 คัน อันดับ 3 เป็นของ Volkswagen ID.3 (โฟล์คสวาเกน ไอดี.3) มียอดขาย 7,754 คัน

นอร์เวย์ผงาดชาติแรกยอดขายรถพลังไฟฟ้าแซงรถเครื่องยนต์สันดาป – แล้วเมืองไทยล่ะ? 01

รัฐบาลนอร์เวย์กระตุ้นการใช้รถพลังไฟฟ้าอย่างไร

กลยุทธ์การส่งเสริมให้ผู้บริโภคใช้งานรถพลังงานไฟฟ้านั้นถูกจัดให้เป็นวาระ “เร่งด่วน” ในนอร์เวย์ โดยมีการดำเนินการที่ตรงไปตรงมา นั่นคือการยกเลิกภาษีนำเข้าและจัดจำหน่ายรถพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด พร้อมกับให้สิทธิพิเศษในด้านส่วนลดการใช้ถนนทางด่วนหรือค่าที่จอดรถตามสถานที่ต่าง ๆ ผู้ขับขี่รถพลังงานไฟฟ้ายังสามารถใช้ช่องทางของรถบัสได้ซึ่งทำให้เดินทางสัญจรได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

รัฐบาลนอร์เวย์ยังเร่งขยายโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะสถานีชาร์จไฟฟ้าให้ครอบคลุม โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการเพิ่มสถานีชาร์จไฟฟ้ามากกว่า 10,000 สถานีเลยทีเดียว

นอร์เวย์ยังเตรียมบังคับใช้มาตรการ “แบน” หรือห้ามใช้รถเครื่องยนต์เบนซินและดีเซลภายในปี 2025 หรืออีกแค่ 4 ปีข้างหน้าเท่านั้นซึ่งจะทำให้นอร์เวย์เป็นประเทศแรกในโลกที่ห้ามใช้รถเครื่องยนต์สันดาปภายใน

ออยวินด์ ธอร์เซน ประธานกรรมการ OFV กล่าวว่า “เรากำลังมุ่งสู่เป้าหมายห้ามใช้รถเครื่องยนต์สันดาปภายในปี 2025 โดยคาดว่ายอดขายรถพลังงานไฟฟ้าจะเติบโตสูงขึ้นเป็น 65% ในปี 2021 และขยายตัวขึ้นอีกในปีต่อ ๆ ไป”

ทั้งนี้ ยอดขายรถเครื่องยนต์ดีเซลในนอร์เวย์ลดลงจาก 75.7% ในปี 2011 เหลือเพียง 8.6% ในปี 2020 ส่วนรถเครื่องยนต์เบนซินและไฮบริดมีสัดส่วนเพียง 8% และ 9% ตามลำดับในปีที่ผ่านมา

นอร์เวย์ผงาดชาติแรกยอดขายรถพลังไฟฟ้าแซงรถเครื่องยนต์สันดาป – แล้วเมืองไทยล่ะ? 02

แล้วเมืองไทยเป็นอย่างไร?

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีรถพลังงานไฟฟ้าหลายรุ่นเปิดตัวทำตลาดเมืองไทย อาทิ Nissan Leaf (นิสสัน ลีฟ) MG ZS EV (เอ็มจี แซดเอส อีวี) MG EP (เอ็มจี อีพี) MINI Cooper SE (มินิ คูเปอร์ เอสอี) และ Audi e-tron โดยมีราคาแตกต่างกัน เริ่มต้นที่ 9 แสนกว่าบาทไปจนถึงทะลุ 5 ล้านบาท

แต่กระนั้น ยอดขายรถพลังไฟฟ้าในบ้านเรายังคงน้อยมาก มีสัดส่วนยอดขายไม่ถึง 1% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดในเมืองไทย สาเหตุหลัก ๆ ก็คือเทคโนโลยีนี้ยังใหม่มากสำหรับผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่ การขาดจุดชาร์จไฟฟ้าที่เพียงพอ ระยะทางขับขี่ที่ไม่เอื้อต่อการใช้งานทางไกล และราคาจำหน่ายที่ยังค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรถระดับเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีแผนการขับเคลื่อนภารกิจด้านพลังงานเพื่อส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 1.2 ล้านคัน ภายในปี 2030

มีการแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ระยะ ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมด้านกฎหมายและการสนับสนุนการวิจัยแบตเตอรี่ การเพิ่มจำนวนจุดชาร์จไฟซึ่งสิ้นสุดปี 2020 ไปจนถึงการขยายผลการศึกษา และการคาดหวังว่ารถพลังงานไฟฟ้าจะเข้ามาแทนที่รถเครื่องยนต์สันดาปซึ่งจะดำเนินการช่วงปี 2021 - 2036

ล่าสุด มีรายงานว่ากรมสรรพสามิตได้ส่งจดหมายเชิญบริษัทรถยนต์เกือบทุกรายเข้าร่วมหารือกันเพื่อเริ่มศึกษาปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์รอบใหม่ เนื่องจากโครงสร้างภาษีปัจจุบันที่ยังเป็นแพ็กเกจส่งเสริมรถยนต์ไฮบริดและเก็บภาษีตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะสิ้นสุดลงในปี 2025 ขณะที่รัฐบาลมีนโยบายจะส่งเสริมรถอีวีมากขึ้นหลังจากปีดังกล่าว

May

นักเขียนอาวุโส

อดีตนักข่าว เอเจนซี่ และฟรีแลนซ์ฝีมือเยี่ยม ที่นำประสบการณ์ร่วม 20 ปีมาถ่ายทอดคอนเทนท์และประเด็นข่าวในวงการยานยนต์ทั้งไทยและเทศในรูปแบบที่สดใหม่และแตกต่าง

window.googletag = window.googletag || {cmd: []}; googletag.cmd = googletag.cmd || []; googletag.cmd.push(function() { googletag.defineSlot('/22557728108/th_article_relatedmodel_above_pc', [ 728, 90 ], 'div-gpt-ad-1685678175456-0').addService(googletag.pubads()); googletag.pubads().enableSingleRequest(); googletag.pubads().collapseEmptyDivs(); googletag.enableServices(); });
googletag.cmd.push(function() { googletag.display('div-gpt-ad-1685678175456-0'); });
window._taboola = window._taboola || []; _taboola.push({ mode: 'thumbnails-a-2x2-stream', container: 'taboola-below-article-thumbnails', placement: 'Below Article Thumbnails', target_type: 'mix' });

ประเมินราคารับซื้ออย่างยุติธรรม มีราคากลาง

Toyota Yaris Ativ 1.2 Sport CVT 2022

แลก

เพิ่มรถของคุณ

ไม่อยากรอแลกรถ?   ขายรถ