GolF said... อย่าไปเร่งเครื่องรถยนต์ไฟฟ้ามากเกินไปนัก เพราะ 15 ปี มันทำไม่ได้หรอก...

จากกรณีที่มีข่าวออกมากันอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการเดินหน้าผลักดันรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยให้เกิดเร็วขึ้นกว่าเดิมอีก 5 ปีจากแผนงานเดิมนั้น ทาง AutoFun Thailand ได้ฟันธงไปแล้วล่ะว่ามันเป็นเรื่องฝันเฟื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน

แต่ก็มีคำถามกลับมาที่น่าสนใจเหมือนกันว่า แล้วจริง ๆ รัฐบาลไม่ควรเดินหน้าผลักดันโครงการเหล่านี้หรือ หรือเพราะอะไรเวลาที่ควรจะเร็วขึ้นจึงไม่ควรทำให้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อย อันนี้เห็นด้วยนะครับว่าหากมุ่งมั่นจริงและเดินหน้าได้ไวที่สุด ก็จะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมเท่านั้น

เพราะตัวเลขการลงทุนโครงการใหม่มหาศาลก็ดี การผลักดันอุตสากรรมยานยนต์สีเขียวซึ่งเป็นทิศทางเดียวกันกับอุตสาหกรรมยานยนต์โลกก็ดี หากทำให้เกิดขึ้นได้เร็วเท่าไร ก็จะเป็นผลดีอยู่แล้ว แต่คำถามคือ เงื่อนไข 15 ปีที่รัฐบาลวางเอาไว้ มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดในสถานการณ์ปัจจุบัน

ไปเช็คความพร้อมของผู้ที่เกี่ยวข้องกันทั้งหมด แล้วจะรู้ว่ามันยากเอาเรื่องเหมือนกันนะ...

ค่ายรถเองพร้อมไหมก็ยังไม่แน่ใจ

หากดูที่ผู้ผลิตรถยนต์เบอร์ 1-3 ของประเทศไทยที่มีกำลังการผลิตและยอดขายมหาศาลที่สุดอย่าง Toyota (โตโยต้า) Isuzu (อีซูซุ) และ Honda (ฮอนด้า) ก็จะพบว่าในปัจจุบันพวกเขาทำตลาดยานยนต์กลุ่มไฟฟ้าน้อยมาก เป็นทางเลือกที่ดีให้กับผู้บริโภค แต่ก็ไม่ใช่ทางเลือกหลักอยู่ดี

โตโยต้านั้นมีสินค้าที่เป็นกลุ่มรถยนต์ไฮบริดจำหน่ายอยู่ในรถยนต์นั่งขนาดกลางและขนาดใหญ่ และทั้งหมดก็เป็นสินค้าที่ทำตลาดในประเทศไทยอยู่แล้ว แม้ว่าในตลาดโลกพวกเขาจะมีสินค้ากลุ่มไฟฟ้าที่น่าสนใจหลายประการ แต่ก็คาดว่าไม่น่าจะเห็นการนำเข้าประเทศไทยในเร็ว ๆ นี้

อีซูซุนั้นยิ่งแล้วใหญ่ เพราะรถกระบะหรือพีพีวีของพวกเขานั้นล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในทั้งสิ้น และก็คงเป็นการยากที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้งานรถกระบะให้หันมาเลือกคบหากับเครื่องยนต์ไฟฟ้าแทน และทางผู้ประกอบการเองก็ไม่ได้ปรับกันได้ง่าย ๆ หรอกนะ

ฮอนด้ากันบ้าง พวกเขาคล้าย ๆ กับโตโยต้าตรงที่เริ่มมีรถยนต์ไฮบริดเข้ามาทำตลาดในฐานะรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ แต่ยอดขายหลักก็มาจากรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในอยู่ดี การเปลี่ยนแปลงไปทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้ารูปแบบต่าง ๆ น่าจะต้องใช้เวลาและข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เข้มงวด

เอาจริง ๆ ค่ายรถที่ดูมีความพร้อมในเรื่องของการทำตลาดรถกลุ่มนี้จริง ๆ กลับกลายเป็นกลุ่มรถยนต์หรูอย่าง Mercedes-Benz (เมอร์เซเดส-เบนซ์) และ BMW (บีเอ็มดับเบิลยู) ที่ทั้งมีตัวสินค้าและมีการผลิตในประเทศอย่างจริงจัง ขณะที่รายอื่น หากไม่เป็นแค่ทางเลือกก็เป็นรถนำเข้าทั้งหมด

สถานีให้บริการที่ไม่พร้อมแน่นอน

อาจจะเป็นการกล่าวล่วงหน้าเกินไป ถ้าจะบอกว่ารัฐบาลเองไม่ได้มองเรื่องความพร้อมของสถานีประจุไฟฟ้าสักเท่าไหร่ในตอนที่ประกาศมาตรการสนับสนุนโครงการยานยนต์ไฟฟ้า เพราะเอาจริง ๆ แล้ว สถานีชาร์จไฟถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะช่วยผลักดันให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเติบโตได้ดี

หลาย ๆ คนอาจจะบอกว่า รัฐบาลเองไม่ได้มองไปที่รถยนต์ไฟฟ้าแบบเสียบปลั๊กแต่อย่างเดียวเสียหน่อย แต่มองไปถึงรถยนต์ไฮบริดธรรมดาด้วย แถมรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินนั้น ก็สามารถขับขี่ได้แบบไม่ต้องเสียบปลั๊กอีกต่างหาก แล้วจะไปซีเรียสเรื่องสถานีชาร์จไฟกันทำไมล่ะ

ก็ถ้าเป้าหมายการผลักดันการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาลอยู่ที่เรื่องการลดมลพิษเป็นหลัก แล้วจะบอกให้ทุกคนซื้อ-ขายรถยนต์ไฟฟ้า แต่ไม่ใช่ฟังชั่นส์ความดีงามของตัวรถเลย มันก็ดูแปลก ๆ ไปเหมือนกันนะ เพราะถ้าอยากให้มันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจริง ก็ต้องทำให้ใช้ไฟฟ้าได้มากที่สุดสิ

ทำไมถึงคิดว่าโครงการของรัฐเป็นไปได้ยาก

แยกกันเป็น 2 ประเด็นที่มีการเสนอเข้ามา เรื่องแรกก็คือการที่ขอให้รถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่นที่ทำตลาดในประเทศไทย จะต้องเป็นรถที่ผลิตในประเทศ เอาจริง ๆ ดูเหมือนเป็นข้อเสนอที่ไม่ยากเกินไป เพราะก็ดูจะเป็นการผลักดันการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้เติบโตอย่างมากในประเทศไทย

แต่นั่นก็หมายถึง รัฐบาลจะต้องยกเลิกเอฟทีเอไทย-จีน ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้ามากมายหลายรุ่นเข้ามาทำตลาดอยู่ในปัจจุบัน ง่าย ๆ ก็คือ MG ZS EV (เอ็มจี แซดเอส อีวี) และ MG EP (เอ็มจี อีพี) รวมไปถึงแมวน้อย ORA Good Cat (ออร่า กู๊ดแคท) ก็อยู่ในข่ายนี้

ขณะที่รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นอื่น ๆ ที่ทำตลาดอยู่ก็จะหมดสิทธิ์ในการทำตลาดไปโดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็นสปอร์ตตัวแรงอย่าง Porsche Taycan (ปอร์เช่ ไทคันน์) Audi e-tron (อาวดี้ อี-ตรอน) ทุกรูปแบบตัวถัง รวมถึงเอสยูวีรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง Volvo XC40 Recharge (วอลโว่ เอ็กซ์ซี40 รีชาร์จ)

ซึ่งก็ถือว่ายากเหมือนกันที่จะไปบังคับให้ผู้ประกอบการเหล่านี้นำรถเข้ามาประกอบหรือผลิตในประเทศทั้งหมด ด้วยตัวเลขการขายหรือแผนการผลิตที่แต่ละค่ายวางไว้ อันนี้ก็ยากแล้ว อีกเรื่องที่ยากกว่าก็คือ การที่มีคนเสนอว่าขอให้ยกเลิกการจำหน่ายรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในทั้งหมด

ไม่แน่ใจว่าคนเสนอโครงการนี้คิดได้อย่างไรว่าทั้งค่ายรถจะพร้อมในการทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด และผู้บริโภคเองจะพร้อมในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด รวมถึงเรื่องของราคาจำหน่ายที่จะต้องทำให้เหมาะสม สามารถเป็นเจ้าของได้อีก เรียกว่าเป็นงานหินเลยก็ว่าได้สำหรับโครงการนี้

จริง ๆ รถไฟฟ้าก็ดี แต่ 15 ปีจะบังคับหมดมันก็เกินไป

เอาจริง ๆ แล้วไม่ได้มีปัญหาอะไรเลยกับการที่รัฐบาลอยากจะผลักดันอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าให้เติบโตอย่างรวดเร็ว เข้าใจว่าข่าวที่ออกมาส่วนหนึ่งก็เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการในการที่้ต้องเลือกสถานที่ลงทุนสักแห่ง

การที่ประเทศไทยจะให้ความมั่นใจกับผู้ประกอบการ ว่าพร้อมที่จะเดินหน้าสนับสนุนและผลักดันการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ดี เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความง่ายดายในการบำรุงรักษา หรือการเป็นหนึ่งในทิศทางของโลกอนาคต ก็เป็นสิ่งที่น่าทำทั้งหมด

คำถามคือ ระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ 15 ปีนั้น ภาครัฐมีความมั่นใจมากเพียงใดว่าสามารถทำได้ ภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบัน ที่มีเรื่องของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในภาพรวม จนทำให้หลาย ๆ โครงการที่ค้างคาอยู่มีแนวโน้มว่าจะอาจจะต้องเลื่อนออกไปจากกำหนดเสียด้วยซ้ำ

ก่อนที่จะไปถึงโครงการใหม่อย่างรถยนต์ไฟฟ้า เรายังมีโครงการที่ต้องเดินหน้าให้สำเร็จมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโครงการอีโคคาร์ เฟสสอง ที่ยังดูยากอยู่ ไหนจะโครงการผลิตรถยนต์ไฮบริด ปลั๊กอินไฮบริด และไฟฟ้า รวมถึงโครงการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์เหล่านี้ ที่ดูแล้วอาจจะไม่ได้ตามแผนที่วางไว้

ยืนยันเลยว่า โครงการเลิกขายรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในนั้นเป็นไปไม่ได้ ส่วนที่บอกว่าใครอยากขายรถยนต์ไฟฟ้าต้องผลิตในประเทศนั้น เอาจริง ๆ ก็ต้องมีข้อกำหนดให้กับผู้ประกอบการบางกลุ่มอยู่ดี ต่อให้มันจะเป็นเรื่องในอีก 15 ปีก็เถอะ มันไม่ได้ง่ายอะไรขนาดนั้น!!!

 

    Channel:
ติดตามพวกเราได้ที่:
Pisan

หัวหน้าทีมบรรณาธิการ

Head of Content ของ AutoFun Thailand ผู้ใช้ชีวิตกับรถมาตั้งแต่สมัยใส่ขาสั้นไปโรงเรียน ทุกวันนี้รถติดบนถนนมากกว่าวันละ 2-3 ชั่...

ซื้อรถถูกกว่า ขายรถเร็วขึ้น

ผู้ใช้ แลกรถในฝันแล้ว
เพิ่มรถของคุณ

แลก

Toyota Hilux Revo

ขายรถมือสอง

ตรวจสภาพรถ 175 จุด

รับประกันคืนเงินภายใน 30 วัน

การรับประกัน 1 ปี

ราคาคงที่ ไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง

ดูเพิ่มเติม

วีดีโอสั้นที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

Mitsubishi ลงทุนผลิตเครื่อง 4N16 Hyper Power ใหม่ ให้ใช้งานได้เกิน 400,000 กม.ขึ้นไป

การผลิตเครื่องยนต์ใหม่ 2.4 ลิตร ไฮเปอร์ พาวเวอร์ รุ่นใหม่ ถึงขั้นต้องปรับปรุงโรงงานขนานใหญ่ ให้เป็นไปตามมาตรฐานญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้การประกอบเครื่องยนต์มีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด พร้อมเผยเคล็ดลับความทนทานของเครื่อง 4n16 ใหม่ในรถ 2023 Mitsubishi Triton (มิตซูบิชิ ไทรทัน) โฉมล่าสุด เปลี่ยนสายพานการผลิตเครื่องยนต์ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ยกระดับสายการผลิตให้ all-new Triton ต้อนรับการมาของรถรุ่นใหม่ และเครื่องยนต์ใหม่ 2.4 ลิตร ไฮเปอร์ พาวเวอร์ โดยใช้หุ่นยนต์อันทันสมัยมากกว่า 250 ตัว ทำหน้าที่ในการ

Mercedes-Benz เตรียมใช้แบตเตอรี่ Blade ของ BYD ในรถอีวี

Mercedes-Benz (เมอร์เซเดส-เบนซ์) ตกเป็นข่าวว่าเตรียมหยิบยืมเทคโนโลยี Blade Battery ของ BYD มาใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าของตนเอง สำนักข่าว CBEA ของจีนรายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงในว่า รถยนต์รุ่นแรกของ Mercedes-Benz ที่จะใช้แบตเตอรี่ของ BYD คือ All-New CLA รุ่นใหม่ที่สร้างบนแพลตฟอร์ม 800V MMA แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเป็นเวอร์ชั่นที่จำหน่ายในจีนเท่านั้นหรือในต่างประเทศด้วย ข่าวดังกล่าวแพร่สะพัดตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา สำนักข่าว CBEA รายงานด้วยว่าค่ายรถยักษ์เยอรมันจะเริ่มต้นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ใ

ส่อง MG ZS 7 คัน มือสองดาวน์น้อย ผ่อนสบาย จากทาง CARSOME

วันนี้ เราเอาใจคนรักครอบครัวที่กำลังหาซื้อรถมือสอง ด้วย MG ZS มือสอง คุณภาพเยี่ยมถึง 7 คันพร้อมโปรโมชันสุดปังอย่าง CARSOME Easy Sale ดาวน์น้อย ผ่อนง่าย จ่ายไหว ที่ให้ทุกคนผ่อนรถมือสองได้ง่ายๆ เริ่มต้นเพียง 4,xxx บาทต่อเดือน แถมยังมียอดดาวน์น้อย จ่ายได้สบายกระเป๋า แถมมีสิทธิ์เป็นผู้โชคดี ได้เงินคืนรวม 5 แสนบาท*** พร้อมความคุ้มค่าแบบจุกๆ อีกเพียบ ที่สำคัญ ยังมั่นใจได้ว่า รถมือสองทุกคันจาก แพลตฟอร์มซื้อ-ขายรถยนต์มือสองออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง CARSOME ยัง ผ่านการตรวจเช็กอย่

Honda ยืนยันร่วมใช้เทคโนโลยีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla

Honda (ฮอนด้า) เป็นบริษัทรถยนต์รายล่าสุดต่อจาก Ford และ General Motors ที่จะใช้เทคโนโลยีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla สำนักข่าว Asahi ของประเทศญี่ปุ่นรายงานว่า Honda ประกาศยืนยันอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะใช้พอร์ทชาร์จไฟเร็วของ Tesla ในรถยนต์ไฟฟ้าที่จะออกจำหน่ายในภูมิภาคอเมริกาเหนือตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป ก่อนหน้านี้ Ford และ General Motors ประกาศนโยบายคล้ายคลึงกันหลังบรรลุข้อตกลงกับ Tesla ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ขณะที่ Rivian อีกหนึ่งบริษัทรถยนต์สัญชาติอเมริกันก็จะเดินตามรอยด้วยเช่นกัน นักวิเคราะห์เ

วิศวกร Honda พัฒนาระบบป้องกันเมาหัวในรถยนต์ไฟฟ้าที่มีอัตราเร่งทันใจ

ทีมงานฝ่ายวิศวกรรมของ Honda (ฮอนด้า) พัฒนาระบบควบคุมอัตราเร่งในรถยนต์ไฟฟ้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการเวียนหัวหรือเมารถ เป็นที่ทราบกันดีว่าอัตราเร่งของรถยนต์ไฟฟ้าที่มีแรงบิดให้ใช้แบบทันทีทันใดนั้นตอบสนองต่อเท้าขวาของผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดี แต่อาจจะไม่ถูกใจผู้โดยสารที่นั่งอยู่บนเบาะหน้าข้างคนขับหรือเบาะหลังเท่าใดนัก ธรรมชาติของรถยนต์ไฟฟ้านั้นทำงานด้วยความเงียบสงบ ราบรื่น ปราศจากเสียงเครื่องยนต์รบกวน แต่อัตราเร่งที่เกิดขึ้นแบบกระทันหันอาจส่งผลต่อประสาทรับรู้การเคลื่อนไหวของหูชั้นในที่ทำงานไม่ประส

รถแนะนำสำหรับคุณ

ยอดนิยมล่าสุดอัพเดท
ฮิต
MG

MG ZS

THB 689,000 - 799,000

ชมรุ่นรถ
MG

MG Maxus 9

THB 2,499,000 - 2,699,000

ชมรุ่นรถ
MG

MG ES

THB 959,000

ชมรุ่นรถ
Honda

Honda WR-V

THB 799,000 - 869,000

ชมรุ่นรถ
รุ่นใหม่
BMW

BMW X7

THB 5,999,000 - 8,959,000

ชมรุ่นรถ
BMW

BMW XM

THB 14,899,000

ชมรุ่นรถ
GAC

GAC Aion Y Plus

THB 1,069,900 - 1,299,900

ชมรุ่นรถ
Toyota

Toyota Vellfire

THB 4,129,000

ชมรุ่นรถ
Subaru

Subaru Levorg

THB 1,890,000

ชมรุ่นรถ
Mercedes-Benz

Mercedes-Benz Sprinter

THB 3,790,000

ชมรุ่นรถ