7 เรื่องที่ทำให้ 2019 Toyota Commuter เหนือกว่าคู่แข่งในตลาด


2019 Toyota Commuter (2019 โตโยต้า คอมมิวเตอร์) เจนเนอเรชั่นที่ 6 เปิดตัวอย่างเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี ด้วยการพลิกโฉมหน้าของตัวรถแบบหมดจด ด้วยตัวถังขนาดใหญ่ ห้องโดยสารที่น่าใช้งานรองรับ 15 ที่นั่ง และเครื่องยนต์รุ่นใหม่ เรียกว่ามาครบหมดจดรอบด้าน
ตลาดรถยนต์โดยสารสำหรับการขนส่งมวลชนขนาดเล็กหรือกลุ่มลูกค้าครอบครัวขนาดใหญ่ แม้จะมีตลาดขนาดไม่ใหญ่มากในแต่ละปี แต่ก็มีผู้ให้บริการแข่งขันอยู่เพียงไม่กี่รายเช่นเดียวกัน และโตโยต้านั้น ก็ถือเป็นผู้นำตลาดที่แข็งแกร่ง ด้วยยอดขายและส่วนแบ่งตลาดระดับสูง
ไม่ใช่แค่ยอดขายที่ดีงาม แต่รถคันนี้เองก็มีข้อดีมากมายสำหรับการเป็นรถตู้โดยสารขนาดใหญ่ ที่จะเอาไว้รองรับการให้บริการขนส่งก็ได้ หรือจะเอาไว้ใช้ในครอบครัวก็ดี มาลองดูกันว่า 7 เหตุผลที่จะสนับสนุนความดีงามของรถคันนี้นั้น มีอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง
1.มิติห้องโดยสารขนาดใหญ่
ขนาดของห้องโดยสารที่เรียกว่าใหญ่โตมโหฬาร ด้วยความกว้าง 1,950 มิลลิเมตร ความยาว 5,915 มิลลิเมตร ความสูง 2,280 มิลลิเมตร และมีระยะฐานล้อ 3,860 มิลลิเมตร ถือว่าเป็นรถตู้โดยสารที่มีขนาดใหญ่โตที่สุดคันหนึ่งในตลาด
เมื่อเทียบกับโตโยต้า คอมมิวเตอร์ รุ่นเก่า จะพบว่ามีความกว้างขึ้น 70 มิลลิเมตร ความยาวขึ้น 535 มิลลิเมตร ความสูงลดลง 5 มิลลิเมตร และมีระยะฐานล้อยาวกว่าเดิมถึง 750 มิลลิเมตร เรียกว่ามีขนาดที่ใหญ่โตสะดวกวบายในทุกมิติ
2.รัศมีวงเลี้ยวแคบเมื่อเทียบกับตัวถัง
แม้จะเป็นรถตู้โดยสารขนาดใหญ่ที่มาพร้อมขนาดตัวถังที่ใหญ่ขึ้นในทุกมิติ แต่โตโยต้าก็ทำให้มั่นใจว่าการขับขี่รถคันนี้ของพวกเขานั้นไม่ใช่เรื่องยากเย็นจนเกินไป เมื่อสามารถทำรถให้มีรัศมีวงเลี้ยวสูงสุดเพียงแค่ 6.5 เมตรเท่านั้น
รัศมีวงเลี้ยวดังกล่าวเพียงพอต่อการใช้งานในเมืองใหญ่ การกลับรถบนถนนแบบ 3 เลนสามารถทำได้อย่างง่ายดายและยังเพิ่มความคล่องตัวในการพารถเดินทางไปตามท้องถนนได้อย่างไม่ติดขัด แบบลืมขนาดตัวถังไปได้เลย
3.เครื่องยนต์และระบบส่งกำลังไหลลื่น
เมื่อทำการปรับโฉมรถรุ่นใหม่ของพวกเขานั้น โตโยต้าได้เลือกเครื่องยนต์มาใส่ในคอมมิวเตอร์เพียงรุ่นเดียว ได้แก่เครื่องยนต์ดีเซล วีเอ็น-เทอร์โบ 4 สูบ รหัส1GD-FTV ที่มาพร้อมหัวฉีดคอมมอนเรล เพิ่มสมรรถนะสูงสุดให้รถ
เครื่องยนต์ขนาด 2,755 ซีซี. ให้กำลังสูงสุด 163 แรงม้าที่ 3,600 รอบต่อนาที พร้อมแรงบิดสูงสุด 420 นิวตันเมตรที่ 1,600–2,200 รอบต่อนาที สามารถเลือกได้ว่าจะจับคู่กับเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะหรือเกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ
4.ความปลอดภัยตั้งแต่โครงสร้างรถ
โตโยต้านั้นให้ความสำคัญกับการออกแบบโครงสร้างรถโดยสารของพวกเขามาก เพราะนั่นหมายถึงการดูแลและปกป้องชีวิตของคนจำนวนมาก และเลือกใช้โครงสร้างนิรภัย Annular Frame Structure แบบวงแหวนในการพัฒนา
พร้อมด้วยโครงสร้างตัวถังแบบ Semi-Bonnet Cab ที่มีเครื่องยนต์อยู่ด้านหน้ารถ ผสานกับช่วงล่างด้านหน้า แบบแมคเฟอร์สัน สตรัท และช่วงล่างด้านหลัง แบบแหนบซ้อน พร้อมโช็คอัพ แถมด้วยดิสก์เบรก 4 ล้อ พร้อมครีบระบายความร้อน
5.ห้องโดยสารภายใน 15 ที่นั่ง
การจัดวางห้องโดยสารภายในของโตโยต้า คอมมิวเตอร์ แบบ 15 ที่นั่งนั้น แบ่งออกเป็นที่นั่ง 5 แถว ๆ ละ 3 ที่นั่ง โดยการวางเบาะโดยสารนั้น คำนึงถึงการใช้งานจริง ด้วยช่องเดินผ่านระหว่างแถวกลางตัวรถที่ทำได้อย่างง่ายดาย
เบาะที่นั่งหุ้มผ้า พร้อมด้วยเข็มขัดนิรภัยในรถ 15 ตำแหน่ง แบ่งออกเป็นเข็มขัดนิรภัย 3 จุด 2 ตำแหน่งและ 2 จุด 13 ตำแหน่ง รวมถึงห้องโดยสารแบบหลังคาสูงโปร่ง เพียงพอที่จะสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้รถคันนี้อย่างแน่นอน
6.ระบบความปลอดภัยมีมาให้
แม้จะไม่ได้มาพร้อมระบบความปลอดภัยล้นคัน แต่หากมองในกลุ่มคู่แข่งขันในเซกเมนต์เดียวกันแล้ว คอมมิวเตอร์ก็ถือว่าให้อุปกรณ์ความปลอดภัยมาพอสมควร โดยเฉพาะถุงลมนิรภัย 3 ตำแหน่ง ที่รวมถึงถุงลมหัวเข่าผู้ขับขี่
นอกจากนี้ ก็มีระบบป้องกันล้อล็อก ระบบเสริมแรงเบรก ระบบควบคุมการทรงตัว ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน ระบบควบคุมเฟืองท้าย และไฟกระพริบเมื่อเบรกกระทันหัน ที่ติดตั้งมาอย่างครบครัน
7.รถใหม่ที่อายุใช้งานน่าจะยาวนาน
แม้ว่าโตโยต้าจะขึ้นชื่อเรื่องการปรับไลน์สินค้าของตัวเองให้มีความสดใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่รู้เหตุผลอะไรที่ทำให้กลุ่มรถตู้โดยสารของพวกเขานั้นมีอายุการทำตลาดมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะ 2 เจนเนอเรชั่นหลังถือว่ายาวมาก
ในเจนเนอเรชั่นที่ 4 และ 5 ของคอมมิวเตอร์ มีอายุในการทำตลาดกันรุ่นละ 15 ปี ทั้งที่ 3 เจนเนอเรชั่นแรกนั้นมีอายุการทำตลาดไม่เกิน 10 ปี ทำให้เราคิดว่าโฉมปัจจุบันของพวกเขา ก็น่าจะทำตลาดไม่น้อยกว่า 10 ปี เป็นอย่างน้อย


Pisan หัวหน้าทีมบรรณาธิการ
Head of Content ของ AutoFun Thailand ผู้ใช้ชีวิตกับรถมาตั้งแต่สมัยใส่ขาสั้นไปโรงเรียน ทุกวันนี้รถติดบนถนนมากกว่าวันละ 2-3 ชั่วโมง ที่้บ้านใช้งานรถหลายแบบ ตั้งแต่อีโคคาร์ เอ็มพีวีไปยันปิกอัพ อยู่ในวงการมายาวนานกว่า 2 ทศวรรษ ทำมาแล้วทุกอย่างทั้งงานเปิดตัว ทดสอบรถ ผ่านการอบรมการขับขี่ตั้งแต่คอร์สเริ่มต้นไปจนแอดวานซ์จากค่ายรถมากมายทั้งในและต่างประเทศ ยังเชื่อว่ารถทุกคันทำมาสำหรับลูกค้าบางกลุ่ม ถ้ามันไม่เหมาะกับคุณ ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่ดีสักหน่อยนะ...
แบรนด์รถยนต์ยอดนิยมในไทย
ข่าวล่าสุด
ผลสำรวจจากอังกฤษ คนขับรถแย่ มักใช้ 11 ยี่ห้อนี้ คุณเชื่อหรือไม่?
เผยภาพจริง Mazda EZ-60 พื้นฐาน Deepal S07 แต่เป็นไฮบริดเสียบปลั๊ก ไม่พึ่งที่ชาร์จ
ทำไมทางด่วนฟรีวันสงกรานต์ยกเว้นแค่ 3 เส้นทาง เพราะมีสัมปทานร่วม
Corolla 3 ห่วง วิ่ง 2 ล้านกม.ด้วยเครื่อง-เกียร์เดิม เผยวิธีใช้และซ่อม
Mitsubishi XForce ผ่านการชน Asean NCAP 5 ดาวด้วยเกณฑ์การทดสอบดังนี้
รถยอดนิยม
- เป็นที่นิยม
- ล่าสุด
-
DEEPAL S07
ยังไม่คอนเฟิร์ม
-
Deepal L07
THB 1,329,000
-
Hyundai IONIQ...
THB 1,699,000 - THB 2,399,000
-
Volvo EX30
THB 1,590,000 - THB 1,890,000
-
Honda City
THB 579,500 - THB 839,000
-
Land Rover...
THB 3,000,000 - THB 8,599,000
-
MG Maxus...
THB 2,499,000 - THB 2,699,000
-
Ford Ranger
THB 528,000 - THB 1,519,000
-
MG ES
THB 959,000
-
Honda CR-V
THB 1,369,000 - THB 1,759,000